กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันไพลเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

นางมลฑิรา สายวารี

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรพบุรุษมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆ ได้ การแพทย์พื้นบ้านเป็นหนทางหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ซึ่งการดูแลสุขภาพมีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยใช้สมุนไพรใกล้ตัวที่หาได้ไม่ยากรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ และในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ยาที่ทำจากสมุนไพรรักษาอาการต่าง ๆ น้ำมันไพลเป็น 1 ในยาบัญชียาหลักมีสรรพคุณบำบัดโรคเพื่อสุภาพ ช่วยทำให้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายใช้ทาถูนวดบริเวณที่มีอาการน้ำมันไพลยังช่วยแก้อาการเหน็บชา ตะคริว ปวดสันหลัง ปวดเข่า ปวดบั้นเอว ฟกซ้ำ ปวดกล้ามเนื้ออีกด้วย ประกอบกับประชาชนตำบลท่าธงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวนและกรีดยาง ทำให้เมื่อยตามร่างกายเป็นประจำค่อนข้างมาก รวมทั้งมีผู้สูงอายุในชุมชน 80 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการ ปวดเข่า ปวดเอวและปวดเมื่อยตามร่างกายประชาชนจึงเห็นและมีความต้องการทำยาน้ำมันไพลเพื่อสุขภาพไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน
จากเหตุผลข้างต้น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง ได้เล็งเห็นความสำคัญและต้องการตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันไพลเพื่อสุขภาพ ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของสมุนไพรที่มีอยู่มากมายในชุมชนและรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ

เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยในการรักษาโรค ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง

เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง ร้อยละ 70

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/05/2025

กำหนดเสร็จ 23/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 2 มื้อ = 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60 บาท x 50 คน x1 มื้อ =3,000 บาท
  • ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
    = 3,000 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆ    ละ 864 บาท = 864 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้พร้อมขาตั้ง ขนาด 0.6x1.6เมตร X 1 ป้าย
    x 900 บ. = 900 บาท
    รวมเป็นเงิน 10,264 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2568 ถึง 23 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับสมุนไพลไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10264.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ การผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ การผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการผลิตน้ำมันไพล ดังนี้        1.ค่าสารสกัดไพล ประกอบด้วย             - น้ำมันไพล 2 kg.             - พิมเสน 100 g.             - เมนทอล 100 g.             - การบูร 100 g.             - น้ำมันระกำ 1 kg.             - น้ำมันยูคาลิปตัส 120 ml.             - น้ำมันอบเชย 60 ml.             - น้ำมันกานพลู 60 ml.             - ไพลสด 20 kg.             - ขมิ้นชันสด 10 Kg.        2.ขวดบรรจุน้ำมันไพล ขนาด 30 ml. จำนวน 100 ขวด        3. สติ๊กเกอร์ฉลากน้ำมันไพล

  รวมเป็นเงิน 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2568 ถึง 23 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ได้รับการผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการติดตามและประเมิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการติดตามและประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,764.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยในการรักษาโรค ร้อยละ 80
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลด้วยตนเอง ร้อยละ 70


>