กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 7 บ้านชายนา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 7

1. นางปราณีนิสสิริ
2. นางยินดีนิลสุวรรณ์
3. นางเพลินพิศรัตนา
4. นางโสภิตศรีเมือง
5. นางสาวอมรรัตน์จุลวรรณโณ

หมู่ที่ 7 บ้านชายนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและถือว่าเป็นภัยเงียบเพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่นตาไตหลอดเลือด ในประเทศไทยนั้นอุบัติการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูงมากในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงยิ่งคัดกรองมากก็จะพบกลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยก็มีอัตราเพิ่มขึ้นโดยสถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี2567ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อมณวันที่30ตุลาคม2567ในหมู่ที่ 7 บ้านชายนามีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 35 คน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 97 คน
ดังนั้นแนวทางแก้ไขจะต้องดำเนินการให้เป็นระบบตั้งแต่การคัดกรอง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้ป่วยได้รับทราบปัญหาและความเสี่ยงของสุขภาพตนเองจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และในกลุ่มป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องแต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอจึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนกลุ่มอาสาสมัครสมาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 7 จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 7 บ้านชายนา ขึ้นเพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด โดยมี อสม. และเครือข่ายในการดำเนินงานไปตรวจคัดกรองเบาหวาน และความดันโลหิตสูงพร้อมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 100 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 ทุกคนสามารถตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการคัดกรองเบาหวาน เป็นไปตามเป้าหมาย ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ สอนทักษะการปฏิบัติในการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว วัดความดันโลหิต และการแปลผล ให้กับ อสม.

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้ สอนทักษะการปฏิบัติในการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว วัดความดันโลหิต และการแปลผล ให้กับ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. อสม. ลงพื้นที่ รวบรวมรายชื่อ ค้นหากลุ่มเสี่ยงในหมู่ที่ 7 เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน  และความดันโลหิตสูง
2. อสม. ดำเนินการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว วัดความดันโลหิต และสามารถแปลผลได้อย่างถูกต้อง


ค่าใช้จ่ายอื่นๆในโครงการ  เช่น  ค่ากระดาษ  ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าจัดทำเล่มรายงาน        เป็นเงิน     306  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
306.00

กิจกรรมที่ 2 การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
-  ค่าเครื่องวัดความดัน  จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ  2,500  บาท      เป็นเงิน   5,000  บาท          -  ค่าเครื่องวัดค่าน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 1,600 บาท       เป็นเงิน   1,600  บาท           -  แถบตรวจน้ำตาล จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 900 บาท                          เป็นเงิน   1,800  บาท -  ค่าเข็มเจาะปลายนิ้ว  จำนวน 1 กล่อง(กล่องละ 200ชิ้น)  กล่องละ 600 บาท                                        เป็นเงิน     600  บาท     -  ค่าสายวัดรอบเอวดัชนีมวลกาย BMI จำนวน 4 เส้น เส้นละ 100 บาท  เป็นเงิน      400  บาท     -  ค่าชุดอุปกรณ์การตรวจ เช่น สำลี แอลกอฮอล์                เป็นเงิน      100  บาท     -  ค่าถุงมือทางการแพทย์ จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 150 บาท      เป็นเงิน      150  บาท     -  ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 80 บาท    เป็นเงิน       80  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,036.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีทักษะในการตรวจวัดค่าน้ำตาลปลายนิ้ว การวัดความดันและแปลผลความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้
2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและกลุ่มที่มีผลการคัดกรองที่ผิดปกติได้รับการส่งต่อ ตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง


>