แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำดำ รหัส กปท. L2987
อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การส่งเสริมสุขภาพเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ มารดาต้องมีความพร้อมและมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามแม้จะดูแลได้ด้วยตนเอง ภาครัฐก็ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน รู้จักการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษา โดยเฉพาะการดูแลตั้งแต่การตั้งครรภ์ของมารดา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งของมารดาและบุตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ ส่งเสริม ให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับทราบถึงการดูแลสุขภาพ ขณะตั้งครรภ์เพื่อให้มีการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและบุตร เพราะการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นสภาวะเสี่ยงทางสุขภาพอย่างหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาอัตราการตายของมารดาและทารกจะสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ตามนัด เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อการดูแลและให้คำแนะนำเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์นำไปปฏิบัติในการดูแลครรภ์ให้ถูกต้อง รวมทั้งร่วมจัดการความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก เพื่อให้การตั้งครรภ์ เป็นไปด้วยดีจนกระทั่งคลอด ทารกมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๖5-๒๕๖8 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและพบภาวะซีดเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องดำเนินการแก้ไขและพัฒนาต่อไป โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565-2567 ดังตารางข้างล่าง ดังนี้
ลำดับ ตัวชี้วัด เกณฑ์ ผลดำเนินงาน
2565 2566 2567
1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75 84.38 83.02 88.52
2. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 14 51.19 50.00 67.21
3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 57.81 73.58 72.13
4. ทารกแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 6.25 0 4.35
ที่มา : HDC ณ วันที่ 30 มกราคม 2568
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จึงจัดทำโครงการใส่ใจเพื่อหญิงตั้งครรภ์ปลอดภัยและลูกสุขภาพดี โดยการส่งเสริมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ด้วยวิตามินแสนวิเศษ อบรมหญิงตั้งครรภ์เพื่อค้นหาบุคคลต้นแบบ และส่งเสริมให้เครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ พร้อมให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วและต่อเนื่อง
-
1. วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมเพื่อการตั้งครรภ์ ข้อที่ 2.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ข้อที่ 3. หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ร้อยละ 80 หญิงวัยเจริญพันธ์ที่เข้ารับการอบรมทำแบบทดสอบหลังเรียนผ่าน 2. ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 3. พบภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่าร้อยละ 14ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 30.00
- 1. ให้ความรู้ ถอดบทเรียน เยี่ยมบ้านรายละเอียด
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดทำแผน เช่น ผู้นำชุมชน/ผู้นำชุมชน/อบต./อสม. และประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้
3. จัดกิจกรรม โดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการดังนี้ 3.1 กิจกรรม ให้ความรู้เตรียมความพร้อมหลังสมรสและการตั้งครรภ์ - กลุ่มเป้าหมาย : หญิงวัยเจริญพันธ์ที่แต่งงานและอยู่กินกับสามี - สถานที่ดำเนินการ : ห้องประชุม รพ.สต.น้ำดำ - ระยะเวลาดำเนินการ : เมษายน 2568 - แนวทางการดำเนินงาน : : ให้ความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ ผลดีการฝากครรภ์เร็ว ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ พร้อมตรวจการตั้งครรภ์ด้วยแผ่นทดสอบปัสสาวะ ตรวจเลือดหาภาวะซีด และแจกยา Folic ในคนที่มีภาวะซีด 3.2 กิจกรรม รณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายฝากครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน ANC คุณภาพ - กลุ่มเป้าหมาย : หญิงวัยเจริญพันธ์ที่แต่งงานและอยู่กินกับสามี - สถานที่ดำเนินการ : ในชุมชนตำบลน้ำดำ - ระยะเวลาดำเนินการ : เมษายน - กันยายน 2568 - แนวทางการดำเนินงาน : ติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในหมู่บ้านๆ ละ 1 ป้าย 3.3 กิจกรรม ถอดบทเรียนพร้อมแทรกความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนพ่อแม่ตามวิถีชุมชนและคัดเลือกแม่ต้นแบบ - กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์/สามี - สถานที่ดำเนินการ : ห้องประชุม รพ.สต.น้ำดำ - ระยะเวลาดำเนินการ : เมษายน 2568 - แนวทางการดำเนินงาน : : ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ความรู้ด้านโภชนาการและภาวะโลหิตจางกับการตั้งครรภ์ 3.4 กิจกรรม แจกไข่และนมในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด - กลุ่มเป้าหมาย : หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดจากการตรวจเลือดรั้งแรก - สถานที่ดำเนินการ : ในชุมชนตำบลน้ำดำ - ระยะเวลาดำเนินการ : เมษายน - กันยายน 2568 - แนวทางการดำเนินงาน : แจกไข่ และนม ให้กับหญิงตั้งครรภ์ภาวะซีดเป็นเวลา 3 เดือน 3.5 กิจกรรม เยี่ยมให้กำลังใจหลังคลอด
- กลุ่มเป้าหมาย : หญิงหลังคลอดที่มาฝากครรภ์ ครบตามเกณฑ์ - สถานที่ดำเนินการ : ในชุมชนตำบลน้ำดำ - ระยะเวลาดำเนินการ : เมษายน - กันยายน 2568 - แนวทางการดำเนินงาน : ออกเยี่ยมอย่างน้อย 3 ครั้ง 3.6 ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงานคืนข้อมูลสู่ชุมชนหลังเสร็จสิ้นโครงการ - กลุ่มเป้าหมาย : : เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- สถานที่ดำเนินการ : ห้องประชุม รพ.สต.น้ำดำ - ระยะเวลาดำเนินการ : กันยายน 2568 - แนวทางการดำเนินงาน : ติดตามประเมินผล ถอดบทเรียนและรายงานผลการดำเนินงานงบประมาณ 46,100.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
รวมงบประมาณโครงการ 46,100.00 บาท
๑. หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะตั้งครรภ์
๒. หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ และมาฝากครรภ์ตามนัดตามมาตราฐาน ๕ ครั้ง ตามเกณฑ์
3. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง
4 มาราดาหลังคลอดมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย ๖ เดือน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำดำ รหัส กปท. L2987
อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำดำ รหัส กปท. L2987
อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................