2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกมีวงจรการระบาดของโรคที่ไม่ได้ระบาดทุกปี เนื่องจากในช่วงการระบาดใหญ่จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันหมู่ต่อโรคไข้เลือดออก โดยภูมิคุ้มกันมีอายุประมาณ 2 – 3 ปี อีกทั้งจากการคาดการณ์ทางสถิติพบว่า ปี 2568 ประเทศไทยจะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง โดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์ 2568 พบรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 3,550 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 5.37 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งน้อยกว่าปีที่ผ่านมา 4.8 เท่า กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียน คือ กลุ่มอายุ 5 – 14 ปี รองลงมาคือ 15 – 24 ปี และพบผู้ป่วยสูงทางภาคใต้ 5 จังหวัดป่วยสูงสุดในรอบ 1 เดือน โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสุดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ ภูเก็ตสุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง และนราธิวาส ตามลำดับ ในส่วนของผู้เสียชีวิตพบว่า มีผู้เสียชีวิต 5 ราย เฉลี่ยอยู่ที่สัปดาห์ละ 1 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ โดยปัจจัยเสียชีวิตหลักยังคงเป็นภาวะอ้วน และการได้รับยากลุ่ม NSAIDs
ทั้งนี้ ถึงแม้จะพบผู้ป่วยลดลง แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจนถึงฤดูฝน ตามมาตรการ 4 เน้น ได้แก่ สำรวจและทำลายแหล่งพาหะลูกน้ำยุงลาย ควบคุมโรคอย่างมีคุณภาพ วินิจฉัยโรคด้วยชุดตรวจแบบรวดเร็ว Dengue NS1 และสื่อสารความเสี่ยงให้งดจ่ายยากลุ่ม NSAIDs เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกให้ลดต่ำลงให้ได้มากที่สุดก่อนถึงฤดูฝน
การป้องกันโรคดังกล่าว ได้แก่ การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลายโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอกควันตามพื้นที่เสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อ สภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค และตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาโดยการออกพ่นหมอกควันครอบคลุมในพื้นที่ที่อยู่ในตำบลแป้นทั้งหมด ได้แก่ บ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด วัด ฯลฯ เพื่อเป็นการกำจัดยุงลายไม่ให้สามารถไปแพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งเป็นวิธีการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อีกทาง
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลแป้น จึงจัดโครงการป้องกันยุงลายปลอดไข้เลือดออก ปี 2568 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ทันต่อสถานการณ์ดังกล่าว
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระ ทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
2. เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน เรือน(HI)ลง
3. เพื่อลดอัตราการป่วยของประชาชนด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่(ต่อแสน ปชก.)ลง
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 20/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
2. แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลายถูกกำจัดอย่างถูกวิธีและเหมาะสม
3. ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก