กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ปัจจุบันสภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไป บิดามารดาต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือไปรับจ้างกรีดยางต่างจังหวัด ทำให้การเลี้ยงดูเด็กเล็กต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นกลุ่มที่ความเจริญเติบโตสูงมากทั้งด้านร่างกายตลอดทั้งจิตใจ มีพัฒนาการที่สูงกว่าในวัยอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตของสมองจากการที่แม่ที่คลอดแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลเด็กเอง แต่จะให้ตากับยายดูแลเลี้ยงดูแทนส่วนตัวแม่จะไปทำงานที่ต่างจังหวัดหรือนอกบ้าน ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กล่าช้าได้ จากรายงานของกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข การศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2548 พบว่าร้อยละเด็กไทยอายุ 0 – 5 ปีมีการขาดสารอาหาร (โปรตีนและพลังงาน) ถึงร้อยละ 2.83 สำหรับในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี ได้สำรวจเด็กในปี 2567 จำนวนเด็ก 0 – 5 ปี มีจำนวน 380 คน สูงดีสมส่วน 226 คน มีปัญหาเด็กขาดสารอาหารจำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 40.52ซึ่งพบว่าในเด็กกลุ่มอายุ 0 – 5 ปี ที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักต่ำมาก จำนวน 40 คน การตรวจพัฒนาการในปี 2567 เด็ก 0 – 5 ปี ในช่วงอายุ 9, 18, 30, 42และ 60 เดือน จำนวนเด็ก 306 คน พัฒนาการสมวัย 216 คน สงสัยล่าช้า 56 คน คิดเป็นร้อยละ 18.30 จำนวนปัญหาดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และด้านสังคม
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 5 ปี เพื่อทำการประเมินความเจริญเติบโตเป็นระยะๆทำให้ทราบว่าภาวะโภชนาการของแต่ละคนได้ตลอดจนสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการที่เหมาะสมให้แก่เด็ก 0 – 5 ปี

เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับการตรวจโภชนาการพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 95

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องโภชนาการ พัฒนาการที่สมวัย

เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีรูปร่างสูงดีสมส่วน ร้อยละ 70

0.00
3 เด็กที่มีภาวะซีดได้รับยาตรวจภาวะซีดเพื่อรักษาภาวะซีด

เด็กที่มีภาวะซีดได้รับยาและตรวจซีด  ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการพัฒนาการตามวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการพัฒนาการตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆ ละ 1,000 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ  35 บาท  เป็นเงิน 3,500 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 75 บาท       เป็นเงิน 3,750 บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 5 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท      เป็นเงิน 2,000 บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองโภชนาการ จำนวน 50 แผ่นๆ ละ 1 บาท        เป็นเงิน     50 บาท
  6. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินปริมาณสารอาหารที่เด็กได้รับ จำนวน 20 ชุดๆ ละ 10 บาท        เป็นเงิน   200 บาท
  7. ค่าไข่เบอร์ 0 จำนวน 50 แผงๆ ละ 140 บาทเป็นเงิน 7,000 บาท
  8. ค่า Strip Hemocue อุปกรณ์เจาะเลือด จำนวน 1 กระปุกๆ ละ 1,250 บาท  เป็นเงิน 1,250 บาท
  9. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 4 เครื่องๆ ละ 1,000 บาท                 เป็นเงิน 4,000 บาท
  10. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักเด็กแบบมีที่วัดความยาว จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 4,000 บาท               เป็นเงิน 4,000 บาท
  11. ค่าที่วัดส่วนสูงแบบเหล็ก (แบบพกพา) จำนวน 1 อันๆ ละ 3,000 บาท   เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเรื่องโภชนาการพัฒนาการตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0 – 5 ปีมีภาวะโภชนาการและพัฒนาการที่สมวัย
2. ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของอาหารโภชนาการและพัฒนาการที่สมวัย
3. เด็กมีภาวะซีดลดลง


>