กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

องค์การบริหารส่วนตำบลสากอ

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสากอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากร เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง สตรีตั้งครรภ์จะได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงทุกรายและได้รับการดูแลตามระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ การนัดตรวจจะกำหนดบริการพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ ให้การรักษาให้การแนะนำ ให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์และการแก้ไขมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ที่สะดวกรวดเร็วจึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาดูแลครรภ์ อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลงานวิจัยพบว่าหญิงเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดเป็นหญิงกลุ่มวัยทำงาน เช่น ค้าขาย เกษตรกรรม รับจ้าง เป็นต้น และต้องทำหน้าที่เป็นแม่บ้านอีกด้วย เช่น ล้างจาน ทำความสะอาดบ้าน หุงข้าวทำกับข้าว ซักผ้าและรีดผ้า เป็นต้น พฤติกรรมบางอย่าง เช่นเปลี่ยนท่านั่งยองเป็นท่ายืนบ่อยครั้ง เดินขึ้นบันไดหลายครั้งต่อวัน การเดินทางด้วยยานพาหนะต่าง ๆ หากการเดินทางนั้นต้องเกร็งบริเวณหน้าท้องบ่อยอาจเกิดการกระทบกระเทือนต่อบุตรในครรภ์ ก่อให้เกิดอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ร่วมกับพฤติกรรมขณะทำงาน เช่น การกลั้นปัสสาวะ การนั่งหรือยืนทำงานนานๆ อารมณ์หดหู่ เครียด หงุดหงิด เป็นต้น นำไปสู่การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย และจากการศึกษาหญิงคลอดบุตรก่อนกำหนดประมาณร้อยละ 62 ของหญิงคลอดก่อนกำหนดไม่เคยมีความรู้เรื่องภาวะคลอดก่อนกำหนดมาก่อน และเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หรืออาการผิดปกติอื่นๆมักเดินทางเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า จนมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรงมากขึ้นจึงตัดสินใจ เข้ามารับการรักษาทำให้ไม่สามารถให้การยับยั้งได้ หากมาเร็วและไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะนั้นแพทย์สามารถรักษาต่อจนสามารถตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดได้
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสากอ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และเฝ้าระวังการดูแลการคลอดก่อนกำหนด

หหญิงตั้งครรภ์มีองค์ความรู้ในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ

60.00 50.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ

หญิงตั้งครรภ์ประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารครบถ้วน ร้อยละ

60.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/06/2025

กำหนดเสร็จ 10/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และเฝ้าระวังการดูแลการคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และเฝ้าระวังการดูแลการคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนวิทยากรทางด้านสาธารณสุขให้ความรู้ (จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท)
เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท/คน 1 มื้อ จำนวน 51 คน (โดยมีวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 1 คน และผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน) เป็นเงิน 2,550บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน 51 คน (โดยมีวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 1 คน และผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน) เป็นเงิน 2,550บาท
ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 900 บาท คู่มือแนวทางป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ราคาเล่มละ 25 บาทจำนวน 50 เล่ม
รวมเป็นเงิน 1250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2568 ถึง 10 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ในการจัดทำกิจกรรมให้ความรู้การป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และเฝ้าระวังการดูแลการคลอดก่อนกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ในการจัดทำกิจกรรมให้ความรู้การป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และเฝ้าระวังการดูแลการคลอดก่อนกำหนด


>