กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ตำบลระวะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ

ตำบลระวะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาคน โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียนที่ต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่เยาว์วัยใน ทุกด้าน เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานที่ดีให้เด็กๆได้เจริญเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศ ด้วยความ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพเด็ก จึงต้องมีการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ในโรงเรียนให้เหมาะสม การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่ต้องมีการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขเพื่อให้เด็กเติบโตอย่างสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญา ดังนั้น การดำเนินงานการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน นับเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญ ต่อการเอื้ออำนวยให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่คุกคามและ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กนักเรียนจะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมเช่น โรคระบบทางเดิน อาหารโรคระบบทางเดินหายใจโรคภูมิแพ้การบาดเจ็บต่างๆจากอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้น จึงควรส่งเสริมให้มีการจัดการ ควบคุม ป้องกัน การแพร่กระจายของโรคติดต่อ การส่งเสริมให้เกิดการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ การบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ให้มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย เพื่อให้เด็กใช้ชีวิตในโรงเรียนอย่างปลอดภัย 9คู่มือ การจัดการอนามัยสิงแวดล้อมในโรงเรียน ่ หลักการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนต้องได้รับความร่วมมือกันจากคณะครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน โดยในเบื้องต้นครูต้องมีความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และสามารถ ถ่ายทอดความรู้และสร้างความตระหนักให้กับนักเรียนได้ทั้งนี้การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมตามโรงเรียนสามารถอาศัยหลักการสาธารณสุขพื้นฐาน ซึ่งมีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาจัดระบบหรือกำหนดรูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้โรงเรียนมีการจัดบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี

โรงเรียนมีการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ดีขึ้น

0.00
2 เพื่อให้คุณครูและนักเรียนมีความรู้เรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม

คุณครูและนักเรียนมีความรู้ในเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม

0.00
3 เพื่อให้คุณครูและนักเรียนมีพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

คุณครูและนักเรียนมีพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 104
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในตำบลระวะ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในตำบลระวะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม จำนวน 112 ชุดๆละ 70 บาท เป็นเงิน 7,840.00บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 224 ชุดๆละ 35 บาทเป็นเงิน 7,840.00บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 3 ชม.ๆละ600 บาทเป็นเงิน3,600.00บาท
  • ค่าไวนิล ขนาด 1.5x2.0ม.เป็นเงิน500.00บาท
  • แฟ้ม 112 เล่มๆละ10 บาทเป็นเงิน1,120.00 บาท
  • ดินสอ 112 เล่มๆละ 5 บาท เป็นเงิน560.00 บาท
  • สมุด 112 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน1,120.00 บาท
  • ค่าแบบทดสอบก่อนได้รับความรู้ 112 ชุดๆละ 2.00 นาท เป็นเงิน 224.00 บาท -ค่าแบบทดสอบหลังได้รับความรู้112 ชุดๆละ 2.00บาท เป็นเงิน 224.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โรงเรียนมีการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ดีขึ้น
  2. คุณครูและนักเรียนมีความรู้ในเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม
  3. คุณครูและนักเรียนมีพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23028.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,028.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนมีการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ดีขึ้น
2. คุณครูและนักเรียนมีความรู้ในเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม
3. คุณครูและนักเรียนมีพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ


>