แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางสมจิตร รัตนมณี
2. นางสาวนันท์นภัส อินทร์ดำ
3. นางมะลิ ฤทธากรณ์
4. นางธัญวรรณ เพียรดี
5. นางสาวเสาวภา จันทร์ทอง
ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) และโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension: HT) ถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเหล่านี้จัดเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง แผลเรื้อรัง ตลอดจนการสูญเสียอวัยวะบางส่วน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง รวมทั้งเกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลทั้งในระดับบุคคลและระบบสาธารณสุขโดยรวม จากข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป พื้นที่หมู่ที่ 14 บ้านนาขาม ประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีประชาชนเข้ารับการคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 114 คน ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ 95 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 14.04 และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.63 และผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 28.95 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 35.09 และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 35.96 การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่หมู่ที่ 14 บ้านนาขามที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 9 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการตรวจคัดกรอง โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับจาก “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 14” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยปัจจุบัน พบว่า มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยังคงสภาพใช้งานได้ คือ เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง ส่งผลให้การให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอ จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 14 บ้านนาขาม จึงได้จัดทำโครงการ “คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 14 บ้านนาขาม ประจำปี 2568” เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจซ้ำทุก 6 เดือน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตทุก 7 วันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-
1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือนตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือนขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
4. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วันตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วันขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์รายละเอียด
กิจกรรมย่อย
จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
เครื่องชั่งน้ำหนัก
เครื่องวัดความดันโลหิต
เครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
เครื่องวัดความเค็มในอาหาร (CHEM Meter)
งบประมาณ
ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 2 เครื่องๆละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,800 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
ค่าชุดเครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,800 บาท
ประกอบด้วย
3.1 เครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง
3.2 Strip จำนวน 50 ชิ้น
3.3 เข็มเจาะ จำนวน 50 ชิ้น
เครื่องวัดความเค็มในอาหาร (CHEM Meter) จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,500 บาท
งบประมาณ 11,400.00 บาท - 2. คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
ตรวจวัดปริมาณโซเดียมในอาหารที่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงบริโภคด้วยเครื่องวัดความเค็ม (Chem meter) พร้อมแจ้งผลการตรวจวัดให้ทราบ และให้คำแนะนำในการลดโซเดียม
ประเมินผลการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
งบประมาณ 0.00 บาท - 3. ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
ติดตามวัดระดับความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงซ้ำทุก 7 วันงบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
หมู่ที่ 14 บ้านนาขาม ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รวมงบประมาณโครงการ 11,400.00 บาท
ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน
มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................