กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลรือเสาะออก

นางคอรีเป๊าะ ดอเลาะ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 1
นายสะรี เปาะแซยือไร ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 2
นางสาวอานี ดือราแม ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 3
นางซากียะ สะอิ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 4
นายกิริยา ตะมะละ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 5

ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและทรงตัวได้ไม่ดีพอ จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการหกล้ม 28-35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 32-42% และยังพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มสูงเป็นอันดับ 2 เฉลี่ย 3 คนต่อวัน รองจากการเสียชีวิต จากอุบัติเหตุบนท้องถนน
การหกล้ม เกิดจากการสูญเสียการทรงตัวของผู้สูงอายุ มีปัจจัยเสี่ยง 2 ประเภท คือ ปัจจัยเสี่ยงภายใน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านสายตา โดยเฉพาะปัญหาสายตายาวและโรคต้อทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นไม่ชัด ข้อต่อและเอ็นอ่อนแอลงทำให้ผู้สูงอายุมักทรงตัวไม่อยู่ ปัญหาปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะเล็ดทำให้ต้องรีบเข้าห้องน้ำโรคประจำตัวบางอย่างที่ส่งผลต่อการหกล้ม เช่น โรคหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน การใช้ยาบางตัว ที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมหรือวูบได้ เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการซึมเศร้า และปัจจัยเสี่ยงภายนอก คือ สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ เช่น พื้นบ้านที่ลื่นหรือมีสิ่งกีดขวาง แสงไฟในบ้านที่สว่างไม่เพียงพอ ขั้นบันไดที่สูงชันหรือแคบ พื้นห้องน้ำเปียกลื่น รองเท้าของผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะสม ไม่สามรถยึดเกาะพื้นได้ดี หรือไม่สบายเท้า ทำให้ผูสูงอายุสะดุดหกล้มได้ง่าย เป็นต้น ซึ่งการหกล้มในผู้สูงอายุส่งผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต กล่าวคือ ด้านร่างกายเกิดการบาดเจ็บเล็กน้อย ซึ่งบางรายอาจรุนแรงส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุกลายเป็นผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงพิการ หรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ด้านเศรษฐกิจ จากอุบัติการณ์หกล้มบาดเจ็บทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสุขภาพในระยะต่างๆ ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุก็มักกลัวการหกล้ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจเคยหกล้มไปแล้ว จะยิ่งกลัวมากขึ้น เกิดความกังวลและขาดความมั่นใจในการเดินจนเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้
สำหรับพื้นที่ตำบลรือเสะาออก ปีงบประมาณ 2567 มีผู้สูงอายุจำนวน 902 คน จากข้อมูลการคัดกรอง 9 ด้าน พบว่า มีผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองครบทั้ง 9 ด้าน จำนวน 787 คน คิดเป็นร้อยละ 87.25 พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว/การหกล้ม จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 14.9 โดยมีผู้สูงอายุติดบ้าน-ติดเตียงที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 1.9 จะเห็นได้ว่า หากญาติหรือคนใกล้ชิดไม่ได้ตระหนักถึงความผิดปกติด้านการหกล้ม จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้า และไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมจะส่งผลกระทบต่อการดูแลเป็นภาระการดูแลของผู้ดูแลและครอบครัว ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มจึงมีส่วนสำคัญในการป้องกันหกล้มที่จะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความพิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขต อบต.รือเสาะออก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าว จึงจัดโครงการการดูแลผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม ประจำงบประมาณ 2568 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และ อสม.เข้าใจถึงการดูแลผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม และกระตุ้นสมรรถภาพของผู้สูงอายุที่บ้านและในชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง ผู้ดูแล และอสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง ผู้ดูแล และอสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง ผู้ดูแล และอสม.มีทักษะในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง ผู้ดูแล และอสม.มีทักษะในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 07/10/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม การส่งเสริมความรู้และฝึกทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม การส่งเสริมความรู้และฝึกทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท100 คน * 1 วัน เป็นเงิน 8,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท 2 มื้อ * 1 คน * 1 วัน เป็นเงิน 7,000 บาท ค่าวิทยากร 600 บาท* 4 ชม.* 1 คน* 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท ตาราง 9 ช่อง (ฝึกการทรงตัว) 250 บาท* 50 ชุด เป็นเงิน 12,500 บาท ยางยืดออกกำลังกาย 50 บาท* 50 ชุด เป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง ผู้ดูแล และ อสม.ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม และไม่เกิดความพิการจากการพลัดตกหกล้ม


>