กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอาการสำลักอาหารในเด็กปฐมวัย ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเมาะนอก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเมาะนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาการสำลักอาหาร คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหล่นเข้าไปในช่องคอหรือหลอดลม ทำให้กีดขวางช่องทางการหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ สาเหตุ เกิดจากเศษอาหาร หรือการดื่มน้ำเร็วเกินไป ส่วนในเด็กอาจเกิดจากการกลืนสิ่งของเล็กๆเข้าไปปกติแล้ว การสำลักนั้นเกิดขึ้นแค่ครู่เดียว และดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงอะไร แต่การสำลักอาจเป็นอันตราย และคุกคามขั้นรุนแรงถึงชีวิตได้
เด็กมักจะสำลักเมื่อนำสิ่งของเข้าปากด้วยความอยากรู้อยากเห็น หรือเกิดการสำลักขณะที่กินอาหารเร็วเกินไป หรือพูดขณะที่กำลังมีอาหารอยู่ในปาก ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้ใหญ่สำลักนั้นมักเกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หัวเราะขณะกินอาการหรือดื่มน้ำเร็วเกินไปอาหารที่มักทำให้เกิดอาการสำลัก ได้แก่ ถั่วลิสง หมากฝรั่ง ป๊อปคอร์น ลูกอม ไส้กรอก ผักและผลไม้ชิ้นใหญ่ๆ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ ลูกองุ่น และวัสดุเล็กๆ อย่างยางลบ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเมาะนอก ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอาการสำลักอาหารในเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอาการสำลักอาหารในเด็กปฐมวัยให้แก่ ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในการปฐมพยาบาลเมื่อเด็กมีอาการสำลักอาหาร

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจในการปฐมพยาบาลเมื่อเด็กมีอาการสำลักอาหาร

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย สามารถปฐมพยาบาลเมื่อเด็กมีอาการสำลักอาหารได้ถูกวิธี

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยสามารถปฐมพยาบาลเมื่อเด็กมีอาการสำลักอาหารได้ถูกวิธี ลดอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาล เบื้องต้นอาการสำลักอาหารในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การปฐมพยาบาล เบื้องต้นอาการสำลักอาหารในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 35 บ. x 60 คน x 2 มื้อ = เงิน 4,200 บ. ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม 80 บ. x 60 คน x 1 มื้อ = 4,800 บ. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บ. x 1 คน x 4 ชั่วโมง = 2,400 บ. ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย 60 บ. x 50 เล่ม = 3,000 บ. ป้ายไวนิล  =  1,050 บ.

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,450 บาท    (หนึ่งหมื่นห้าพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีความรู้การปฐมพยาบาลเมื่อเกิดเหตุการณ์เด็กสำลักอาหาร สามารถปฐมพยาบาลเมื่อเด็กมีอาการสำลักอาหารได้ถูกวิธี ลดอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง


>