2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันจะพบข่าวเกี่ยวกับปัญหาเด็กจมน้ำเป็นจำนวนมาก เด็กที่มีความเสี่ยงมากที่สุด คือระหว่างอายุ 1-9 ปี โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการทรงตัวไม่ดี ทำให้ล้มในท่าที่ศีรษะทิ่มลงได้ง่าย จึงมักพบเด็กจมน้ำสูง ตามแหล่งน้ำภายในบ้านหรือบริเวณรอบๆบ้าน อีกอย่าง คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่มีรั้วรอบแหล่งน้ำเพื่อแบ่งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำ การจัดพื้นที่เล่นที่ไม่เหมาะสมให้แก่เด็ก รวมถึงการที่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็ก ไม่มีความรู้ในการกู้ชีพหรือใช้วิธีปฐมพยาบาลแบบผิดวิธี เป็นต้น จากเหตุดังกล่าวหากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก จำเป็นต้องฝึกหัดให้เด็กว่ายน้ำเป็นและเรียนรู้วิธีช่วยชีวิตคนจมน้ำโดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ ดังนั้น กิจกรรมการว่ายน้ำถือว่ามีประโยชน์อย่างมากมาย อาทิ ช่วยบริหารร่างกายของเด็กปฐมวัยได้ทุกส่วน และยังช่วยฝึกความแข็งแรงของระบบการหายใจ นอกจากนี้การว่ายน้ำยังมีประโยชน์ทางด้านกายภาพ คือ สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายจากความตึงเครียด เสริมสร้างให้เด็กรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แข็งแรง และที่สำคัญยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดหากตกน้ำหรือจมน้ำ การพัฒนาทักษะการว่ายน้ำยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ส่วนด้านความรู้สึกและอารมณ์ การเรียนว่ายน้ำจะช่วยเกิดการกระตุ้นการรับรู้และการสัมผัสตลอดเวลา ส่งผลให้เด็ก มีอารมณ์ดี สดใสร่าเริงไม่งอแง และมีสมาธิพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสมองสามารถเรียนรู้และจดจำได้ดีขึ้น ด้านสติปัญญาช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถรับฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้โดยเด็กขณะอยู่ในน้ำจะมีการเคลื่อนที่ของร่างกาย สมองจะตื่นตัวตลอดเวลา มีผลทำให้สมองได้รับการพัฒนาเร็วกว่าเด็กเล็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนว่ายน้ำช่วยให้เด็กปฐมวัยเจริญอาหาร นอนหลับพักผ่อนสนิท เป็นการกระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ให้เด็กมีความแข็งแรง สมบูรณ์สมวัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการฝึกทักษะการว่ายน้ำอย่างถูกวิธีจะไม่กลัวน้ำ และมีพื้นฐานการว่ายน้ำที่ดีดังนั้น การฝึกให้เด็กคุ้นชินกับการอยู่ในน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้เด็กรู้สึกสนุก ผ่อนคลาย เกิดการจดจำทักษะการว่ายน้ำที่สำคัญทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะการกลั้นหายใจในน้ำ 2. ทักษะการลอยตัวในน้ำ 3. ทักษะการเคลื่อนที่ในน้ำอย่างถูกต้อง 4. ทักษะการเอาตัวรอดในน้ำ ทักษะเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้เด็กสามารถเอาตัวรอดจากการจมน้ำและช่วยเหลือผู้อื่นได้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยคุณครูที่เป็นส่วนสำคัญในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถอยู่ในน้ำได้เพียงลำพัง คุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล คอยพยุง ประคอง ให้กำลังใจ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กไม่กลัวน้ำและการสัมผัสจะช่วยลดความกลัวของเด็กได้
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
1.2 เพื่อให้เด็กมีทักษะการว่ายน้ำให้ปลอดภัยจากการจมน้ำและสามารถช่วยเหลือตนเองได้
1.3 เพื่อลดอัตราเด็กปฐมวัยเสียชีวิตจากการจมน้ำและมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/06/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1 เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
2.เด็กมีทักษะการว่ายน้ำให้ปลอดภัยจากการจมน้ำและสามารถช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้
3.เด็กปฐมวัยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลงและมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน