2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) และโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension: HT) ถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเหล่านี้จัดเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง แผลเรื้อรัง ตลอดจนการสูญเสียอวัยวะบางส่วน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง รวมทั้งเกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลทั้งในระดับบุคคลและระบบสาธารณสุขโดยรวม
จากข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป พื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งสมอ ประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีประชาชนเข้ารับการคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 242 คน ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ 213 คน คิดเป็นร้อยละ 88.02 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 7.44 และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 4.54 และผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ 57 คน คิดเป็นร้อยละ 23.55 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 55.79 และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่ จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 20.66
การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งสมอที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 20 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการตรวจคัดกรอง โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับจาก “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยปัจจุบัน พบว่า มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยังคงสภาพใช้งานได้ คือ เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 เครื่อง ส่งผลให้การให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอ
จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งสมอ จึงได้จัดทำโครงการ “คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งสมอ ประจำปี 2568” เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจซ้ำทุก 6 เดือน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตทุก 7 วันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและเพื่อจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน
3. มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน