กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 บ้านไสแต ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านไสแต

1. นางภัทรวดี ทองส่งโสม
2. นางกมลลักษณ์ ฤทธาภรณ์
3. นางวนิดา มุกดา
4. นางสาวจุฑารัตน์ ฉิมแสง
5. นางสาวภรณ์ชนก โพธิ์ทอง

หมู่ที่ 5 บ้านไสแต ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) และโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension: HT) ถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเหล่านี้จัดเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง แผลเรื้อรัง ตลอดจนการสูญเสียอวัยวะบางส่วน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง รวมทั้งเกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลทั้งในระดับบุคคลและระบบสาธารณสุขโดยรวม
จากข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป พื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านไสแต ประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีประชาชนเข้ารับการคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 161 คน ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 93.17 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.10 และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 3.73 และผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.48 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 78.89 และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 18.63
การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านไสแตที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 11 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการตรวจคัดกรอง โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับจาก “โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 บ้านไสแต” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยปัจจุบัน พบว่า มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยังคงสภาพใช้งานได้ คือ เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่อง เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 เครื่อง ส่งผลให้การให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอ
จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านไสแต จึงได้จัดทำโครงการ “คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 บ้านไสแต ประจำปี 2568” เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจซ้ำทุก 6 เดือน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตทุก 7 วันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน

ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน

0.00
3 เพื่อจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน

ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 30/10/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

1.1 จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

  • เครื่องชั่งน้ำหนัก

  • เครื่องวัดความดันโลหิต

  • เครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด

  • เครื่องวัดความเค็มในอาหาร (CHEM Meter)

งบประมาณ

  1. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 2 เครื่องๆละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

  2. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,800 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท

  3. ค่าชุดเครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,800 บาท

    ประกอบด้วย

    3.1 เครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง

    3.2 Strip จำนวน 50 ชิ้น

    3.3 เข็มเจาะ จำนวน 50 ชิ้น

  4. เครื่องวัดความเค็มในอาหารแบบดิจิตอล (CHEM Meter) จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

    2.1 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

    2.2 ตรวจวัดปริมาณโซเดียมในอาหารที่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงบริโภคด้วยเครื่องวัดความเค็ม (Chem meter) พร้อมแจ้งผลการตรวจวัดให้ทราบ และให้คำแนะนำในการลดโซเดียม

    2.3 ประเมินผลการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

3.1 ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

3.2 ติดตามวัดระดับความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงซ้ำทุก 7 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน

3. มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน


>