กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน

พื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านสวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกในปี ๒๕๖๔ มีผู้ป่วยจำนวน ๕๓๗ ล้านคนและคาดว่าในปี ๒๕๗๓ จะมี ผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น ๖๔๓ ล้านคน และโรคเบาหวานมีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง ๖.๗ ล้านคน หรือเสียชีวิต ๑ ราย ในทุกๆ ๕ วินาที จากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ๓ แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ ในระบบทะเบียน ๓.๓ ล้านคน ในปี ๒๕๖๓ มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด ๑๖,๓๘๘ คน (อัตราตาย ๒๕.๑ ต่อประชากรแสนคน) ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง ๔๗,๕๙๖ ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด สมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ
โรคเบาหวานมีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่พบบ่อย และคนส่วนใหญ่รู้จักกัน ก็คือ โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ ซึ่งมัก พบในวัยกลางคน ร่วมกับโรคอ้วน ซึ่งสิ่งที่เราต้องตระหนักก็คือในปัจจุบัน เริ่มพบโรคเบาหวานในกลุ่มคนอายุ น้อยลง โดยเฉพาะวัยทำงาน วัยรุ่น หรือเด็กที่มีภาวะอ้วนความชุกของโรคเบาหวานในคนไทย พบได้ ๘.๙% และ ในช่วงอายุ ๖๐-๗๙ ปี พบสูงถึง ๑๙% หมายถึง ใน ๕ คน จะพบคนเป็นโรคเบาหวาน ๑ คน และจากการสำรวจ สุขภาพคนไทย โดยท้าการตรวจเลือดพบว่า มีผู้เป็นโรคเบาหวานเกือบ ๕๐% ที่เป็นโรคเบาหวานโดยไม่ทราบว่า ตนเองเป็นมาก่อน และมีเพียง ๒๓.๕% ที่รักษาและควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ดังนั้นจะเห็นว่าโรคเบาหวานเป็น ภัยเงียบ ผู้ป่วยบางรายหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มากจะไม่มีอาการใดๆ จะทราบได้ก็ต่อเมื่อตรวจเลือดเท่านั้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน จึงได้ออกรณรงค์คัดกรองโรคเบาหวานแก่ประชาชนในเขต รับผิดชอบ พบผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานทั้งสิ้น ๕๐๐ ราย จึงได้จัดทำโครงการติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานครั้งนี้ขึ้น โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1) เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
2) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
3) เพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
2) ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม
3) เจาะปลายนิ้วให้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานทุกๆ 3 เดือน หรือ 3 ครั้ง/ปี
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 500 คน x 3 ครั้ง x 24 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1) กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
2) ได้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม
3) แถบตรวจน้ำตาลในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น
2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น
3) สามารถลดผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้


>