2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ด้วยสภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างประชากรและวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ส่งผลให้สถาบัน ครอบครัว ซึ่งถือเป็นสถาบันพื้นฐานที่เป็นหลักของสังคมและเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาคนและสังคมในอนาคตได้ มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยายมีสมาชิกในครอบครัว 3 ช่วงอายุ (ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และลูก) กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวที่เหลือเพียง พ่อ แม่ ลูกเท่านั้น และนับวันก็ยิ่งมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ซึ่งแต่ละครอบครัวนั้นอาจจะมีสภาพปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือที่ แตกต่างกัน เช่น ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่มีเฉพาะ พ่อ หรือแม่ ที่เลี้ยงลูกตามลำพัง ครอบครัวแหว่งกลางที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุเลี้ยงดูเด็กตามลำพัง ครอบครัวเพศเดียว ครอบครัวบุตรบุญธรรม และครอบครัวที่มีภาระในการดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วย/พิการ/ผู้ต้องขัง เป็นต้น ทั้งนี้ ซึ่งเหตุผลข้างต้นอาจส่งผลให้สถาบันครอบครัวมีความเปราะบาง และไม่สามารถ ทำหน้าที่ตามบทบาทได้อย่างสมบูรณ์ ก่อให้เกิดสัมพันธภาพภายในครอบครัวที่เสื่อมถอยลง และส่งผลกระทบต่อสังคมตามมาภายหลังได้ เช่น ปัญหาการใช้ความรุ่นแรงในครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาการ ถูกทอดทิ้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่างอาจมีผลทำให้บรรยากาศภายในครอบครัวนั้นมีความรักและความอบอุ่นน้อยลง รวมทั้งเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตและความสุขของคนในครอบครัว ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ สุขภาพจิต และสุขภาพร่างกายตามมาภายหลังได้
ดังนั้นการเสริมพลังให้ครอบครัวจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งพลังทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านความคิด อันมีผลให้ครอบครัวสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวได้ เป็นครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่นและมีสุขภาพที่ดีในทุก ๆ มิติ ทั้งนี้ หากสถาบันครอบครัวในชุมชนมีความอบอุ่นและมีความสุข ก็ย่อมส่งผลให้ชุมชนและ .สังคมมีความเข้มแข็งและมีคุณธรรมไปด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา .ดังกล่าว รวมทั้งความสำคัญของสถาบันครอบครัว เพราะหากสถาบันครอบครัวไม่มีความเข้มแข็ง ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสัมพันธภาพในครอบครัว ก็ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีความอ่อนแอลงได้ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก จึงได้จัดทำ “โครงการเสริมพลังครอบครัวอบอุ่น สุขภาพจิตดี มีความสุข”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอันเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีในครอบครัว
ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมการสร้างครอบครัวให้มีความอบอุ่นและเข้มแข็ง เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ข้อที่ 3 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาวะที่ดีในทุก ๆ มิติ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ เป็นต้น
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
สมาชิกได้ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว สร้างความรัก ความสามัคคีในครอบครัว
ครอบครัวมมีความอบอุ่นและเข้มแข็งลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาวะที่ดีทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 21/06/2025
กำหนดเสร็จ 21/06/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความรักและความอบอุ่น เป็นครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง
2. ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว ทั้งปัญหาสุขภาวะทางด้านร่างกายและสุขภาวะทางจิตใจ
3. สามารถลดและแก้ไขปัญหาครอบครัวที่อาจส่งผลกระทบให้สถาบันครอบครัวและชุมชนเปราะบาง ทั้งปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาเด็กติดเกมส์ ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และปัญหายาเสพติดในครอบครัว