2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) และโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension: HT) ถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเหล่านี้จัดเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง แผลเรื้อรัง ตลอดจนการสูญเสียอวัยวะบางส่วน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง รวมทั้งเกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลทั้งในระดับบุคคลและระบบสาธารณสุขโดยรวม
จากข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านไร่ใหญ่ ประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่ามีประชาชนเข้ารับการคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 218 คน ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ 191 คน คิดเป็นร้อยละ 87.62 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 10.55และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.83 และผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ 111 คน คิดเป็นร้อยละ 50.92 กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 25.69 และกลุ่มที่สงสัยว่าเป็นรายใหม่ จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 23.39
การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านไร่ใหญ่ที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 16 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการตรวจคัดกรอง โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับจาก “โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 3 บ้านไร่ใหญ่” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด โดยปัจจุบัน พบว่า มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยังคงสภาพใช้งานได้ คือ เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 3 เครื่อง เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง ส่งผลให้การให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอ
จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านไร่ใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการ “คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 3 บ้านไร่ใหญ่ ประจำปี 2568” เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจซ้ำทุก 6 เดือน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตทุก 7 วันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุก 6 เดือน
3. มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดระดับความดันโลหิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทุก 7 วัน