กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เทศบาลตำบลเทพา ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

ชมรมอสม.เทศบาลตำบลเทพา

1. นางคาตุนา รามชัยเดช
2. นายอาหามะ หะยีเตะ
3. นางรอมล๊ะ พริกแก้ว
4. นางคำแก้ว แก้วมุนี
5. นางปัทติวลัดดา สีหวงศ์

เทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ด้วยกระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพทุกมิติและวิถีชีวิต เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สู่การปฏิบัติ ที่ให้เอื้อต่อการควบคุมดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ผลักดันและขับเคลื่อนภารกิจศูนย์คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)ให้เกิดขึ้นทุกตำบลจากข้อมูลคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์1ประจำปี 2568 ผลงานการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป เป้าหมายคัดกรองเบาหวาน 977 คน ได้รับการคัดกรอง 853 คนคิดเป็นร้อยละ 87.30 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 7.73 และเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.54 จำนวนเป้าหมายคัดกรองความดันโลหิตสูง 867 คน ได้รับการคัดกรอง 767 คน คิดเป็นร้อยละ 88.46 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละ 28.16 และเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 6.46 ซึ่งแนวโน้มจะพบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลเทพา ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจตระหนักและให้ความสำคัญและได้รับการคัดกรองโรคได้ให้มากที่สุด และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยชุมชนสามารถดูแลตนเองด้วยชุมชนเอง จึงมีการจัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ขึ้นในชุมชนมุสลิม เพื่อชุมชนดูแลสุขภาพคนในชุมชนสร้างสุขภาพที่ดีขึ้นและเป็นการสนองตามนโยบายหลักประกันสุขภาพอีกทางหนึ่ง จึงได้จัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและดูแลตนเอง

๑ อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๕.๒
2.อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลง ร้อยละ ๒.๕

0.00
2 ๒. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันตนเองไม้ให้เกิดโรคแทรกซ้อน

1.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ มากว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๔๐ 2.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้มากว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๕๐

0.00
3 3. เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

1.ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๕๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/06/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดซื้ออุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดซื้ออุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 เครื่องวัดความดันยี่ห้อ OMRON รุ่น HEM-7361T จำนวน 1 เครื่องๆละ 4,100บาท

2ที่วัดส่วนสูงผู้ใหญ่จำนวน 1 เครื่องๆละ 800 บาท

4 สายวัดรอบเอวจำนวน 1 อันๆละ 120 บาท

5เครื่องวัดความเค็มจำนวน 1 เครื่องๆละ 1,390บาท

7 เครื่อง Body composition จำนวน 1 เครื่องๆละ 1,600บาท

8 สื่อการสอน เช่น วงล้อคัดกรองเบาหวาน-ความดัน ขนาด 55 ซม. จำนวน 1 ชุดๆ ละ 1,490บาท

  • ไวนิลจำนวน 432 บาท (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9932.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,932.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
๒ เพื่อให้กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
๓ เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
๔ เกิดศูนย์คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน และมีการดำเนินกิจกรรมในอย่างต่อเนื่อง


>