กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “บุหรี่ไฟฟ้า” มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น วิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าในไทยได้ระบาดเพิ่มขึ้น ๑๐ เท่าใน ๑ ปี เปิดเผยในวงสัมมนา ‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’ วึ่งการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี ๒๕๖๘ พบประชากรไทย มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ๐.๑๔ % คิดเป็นจำนวน ๗๘,๗๔๒ คน ของประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ ๑๕-๒๔ ปี จำนวน๒๔,๐๕๐ คน และการสำรวจสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปี ๒๕๖๕ พบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ๑.๒๑% คิดเป็นจำนวน ๗๐๙.๖๗๗ คน โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ ๑๕-๒๔ ปี จำนวน ๒๖๙,๕๕๓ คน ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นวัยนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาเล่าเรียนในระดับชั้นต่างๆ จากสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย น่าวิกฤตกังวลอย่างยิ่งเพราะอยู่ในช่วงระบาดขาขึ้น ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเข้าถึงและการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาและที่ทำงานในพื้นที่ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยสร้างความตระหนักรู้เท่าทันพิษภัยและโทษของบุหรี่ไฟฟ้าทั้งต่อสุขภาพร่างกายและโทษทางอาญาให้แก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ ครู บุลากรทางการศึกษา ผู้บริหารทุกระดับ และเจ้าหน้าที่นั้น
ในการนี้ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการ”บุหรี่ไฟฟ้า”มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักศึกษา ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ขึ้นเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา เกิดความตระหนักรู้ถึงอันตรายและโทษของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภพจิตและสังคมจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และมีทักษะในการปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจตระหนักถึงอันตรายและโทษของบุหรี่ไฟฟ้า
2) เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสังคมจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
3) เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาสามารถปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายและโทรของบุหรี่ไฟฟ้า, กฎหมายที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าและบทลงโทษตามกฎหมาย, ผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสังคมจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า, ทักษะการปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งกับบุหรี่ไฟฟ้า โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1) ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2) ค่าอาหารกลางวันจำนวน 80 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
3) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
4) ป้ายโครงการ ขนาด 2 x 3 เมตร จำนวน 1 ป่าย เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2568 ถึง 14 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักศึกษาได้ความรู้ในเรื่อง เรื่องอันตรายและโทรของบุหรี่ไฟฟ้า, กฎหมายที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าและบทลงโทษตามกฎหมาย, ผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสังคมจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า, ทักษะการปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งกับบุหรี่ไฟฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เชิงปริมาณ
ร้อยละ 80 ของนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ปลอดบุหรี่ไฟฟ้า
เชิงคุณภาพ
นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง มีจิตสำนึกร่วมกันในการไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า


>