2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบัน“บุหรี่ไฟฟ้า”ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมาก ซึ่งแรกเริ่ม บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้นและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่มาจนวันนี้“บุหรี่ไฟฟ้า”ได้กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์ สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ”วิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าไทย ระบาดเพิ่ม 10 เท่าใน 1 ปี เปิดเผยในวงสัมมนา ‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าคน ไทยเสียค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่เฉลี่ยต่อคนวันละ 11 บาท เท่ากับว่า คนไทยเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่เป็น จำนวน 118.8 ล้านบาทต่อวัน และ 1 ปี ต้องเสียค่าบุหรี่ถึง43,362ล้านบาทแถมในบางรายยังต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเฉพาะ3โรคหลัก(โรคถุงลมโป่งพองโรคมะเร็งปอด และโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด) กว่า 46,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันพบว่าเยาวชนที่สูบบุหรี่อายุน้อยที่สุดเพียง 13 ปี ปัจจุบันพบว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” คือช่องโหว่ของสังคมไทยที่กำลังทำร้ายเยาวชน เราจะพบคนสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น ในสัดส่วนที่อาจจะพอๆกับบุหรี่ปกติมีการนำเข้าการขายการซื้อการสูบบุหรี่ไฟฟ้าหมุนเวียนใกล้ชิดอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไปเนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ามีการใช้สารโพรพลีลีนกลีเซอรอล(Propylene Glycerol) ที่ทำให้สารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติหรือกลิ่นคล้ายน้ำหอมหรือ เครื่องสำอาง จึงดึงดูดให้มีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ข้อมูลล่าสุดจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งสำรวจไว้เมื่อกลางปีเมษายนถึงมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าในภาพรวมของประเทศ มีเยาวชนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 9.1 ตัวเลขของเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นเกือบ 1% จากร้อยละ 8.29 เมื่อปี 2564 พฤติกรรมดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการถูกชักชวนจากคนรอบข้าง ส่วนใหญ่ถูกเพื่อนชวน ร้อยละ 92.2 รองลงมา คือญาติ ร้อยละ 3.2 และคนในครอบครัว ร้อยละ 1.6
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขาเล็งเห็นว่าสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักและเป็นสถาบันเริ่มต้นที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชนให้ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ และมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ตามเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากการได้รับควันบุหรี่มือ 2 และ 3 ในคนที่ไม่ได้สูบและสร้างเสริมกลไกทางสังคมดูแลให้กำลังใจให้คนสูบลดละเลิก ตลอดจนป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่ จึงจัดทำโครงการบุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เกิดการลด และเลิกบุหรี่ ในบ้าน ชุมชน และกลุ่มที่มีการสูบบุหรี่เป็นประจำหรือครั้งคราว
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ ไม่เป็นผู้สูบหรี่หน้าใหม่
3. เยาวชนและจิตอาสามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษ พิษภัย โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และกลวิธีการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองภายหลังเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน