2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลและการเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในปี 2565 สัดส่วนผู้สูงอายุของไทยได้เพิ่มเป็น ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ทำให้สังคมไทยเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” และในปี 2583 ผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็นร้อยละ 31.4 ของประชากรทั้งหมด การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ได้ส่งผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านสุขภาพ โดยปัญหาสุขภาพหลักของผู้สูงอายุมักจะเป็น ภาวะที่เกิดจากโรคเรื้อรัง และ การเคลื่อนไหว ดังนั้น เป้าหมายในการลดปัญหาด้านสุขภาพคือ การมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือดูแลตนเองในยามสูงวัย และได้รับการดูแลรักษาด้วยระบบบริการสุขภาพที่เชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ จะต้องเตรียมความพร้อมด้วยการ ส่งเสริมสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้สูงอายุและบุคคลใกล้ชิดได้มีกิจกรรมทำรวมกัน จึงได้มีการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุที่เน้นการพัฒนาศักยภาพและทักษะผู้สูงอายุ มุ่งไปสู่ การสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ และ การสูงวัยอย่างมีพลัง เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่โครงสร้างสังคมสูงวัยที่มีความมั่นคงในทุก ๆ ด้านในระยะยาวต่อไป
เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ในปี พ.ศ. 2562 ทำให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุรักษ์สุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลองได้หยุดการดำเนินงานกิจกรรม ของชมรมไป ทำให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุจำนวน 280 คน จากผลสำรวจพบว่า มีผู้สูงอายุติดสังคม 168 คน ติดบ้าน 5 คน และติดเตียง 1ราย และพบผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง อันดับ 1 โรคความดันโลหิตสูง 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.29 อันดับ 2 โรคเบาหวาน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.36 อันดับ 3 โรคไขมันในเลือดสูง 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.57 และยังมีสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วน (ค่า BMI เกินมาตรฐาน) 158 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.43 จึงทำให้สมาชิกในชมรม ไม่ได้รวมตัวจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุรักษ์สุขภาพ รพ.สต.บ้านกือลอง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูศักยภาพชมรผู้สูงอายุ จึงได้มีการจัดทำโครงการฟื้นฟูศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ ภายใต้ "ชราอย่างมีคุณภาพ สูงวัยอย่างมีพลัง ปี 2568 เพื่อฟื้นฟูความรู้และพัฒนาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้นแบบผู้สูงอายุสุขภาพดี มีความรู้เรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันสุขภาพของตนเอง จากภาวะโรคต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้ศักยภาพที่มีช่วยเหลือดูแลเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกันเอง ทั้งในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูภาวะสุขภาพในระยะยาว
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. มีชมรมผู้สูงอายุที่ยั่งยืนในชุมชน
2. สมาชิกผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการประเมินคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
3. มีกิจกรรมในการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง