กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากในเด็ก 0-3 ปี ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

1.นางโนรีฮาเจ๊ะมะนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสาวฮานีซะห์ สาวนินักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
3.นางสาวรอฮีมะห์บีรู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

50.00

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากและฟันในเด็กควรเริ่มตั้งแต่ฟันของเด็กเริ่มงอก การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การแปรงเหงือกก่อนฟันจะขึ้นเพราะเด็กมีอาการคันเหงือกและเกิดความเคยชินในการแปรงฟัน การควบคุมอาหารหวานและการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ วันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่นๆในกลุ่มเด็กอายุ 0-3 ปีเช่นการใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรสาธารณสุขหลายฝ่าย รวมทั้งครอบครัวต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อยดังนั้นคลินิกสุขภาพเด็กดี (WBC) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบีจึงเป็นสถานที่ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสพบเด็กและพ่อแม่เป็นระยะสม่ำเสมอทำให้เหมาะสมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ในเด็กอายุ 0-3 ปี และครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

ดังนั้นงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันเด็กอายุ 0-3 ปี ขึ้นเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการดูแลทันตสุขภาพเด็กอย่างครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กอายุ0-3ปีได้รับการดูแลช่องปากจากผู้ปกครองได้ถูกต้อง

1.เด็กอายุ0-3ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00 90.00
2 2.เพื่อป้องกันฟันผุในเด็ก0-3ปี

2.ผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันในเด็ก0-3 ปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/07/2025

กำหนดเสร็จ 16/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี เด็กที่มารับวัคซีนในคลินิกWBCได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับเด็กที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี เด็กที่มารับวัคซีนในคลินิกWBCได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับเด็กที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ
  2. จัดเตรียมเอกสาร / ทำหนังสือเชิญวิทยากรและกลุ่มเป้าหมาย
  3. กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี เด็กที่มารับวัคซีนในคลินิกWBCได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับเด็กที่ถูกต้อง โดยมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็ก 0-3 ปี ดังนี้ 3.1 ตรวจสุขภาพช่องปาก
    3.2 ทาฟลูออไรด์วานิช 3.3 ฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธีและใช้ยาสีฟันที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์ 3.4 ให้สุขศึกษาการดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกทักษะการแปรงฟันสำหรับเด็กให้แก่ผู้ปกครอง 3.5 ให้สุขศึกษาครูผู้ดูแลเด็กเรื่องการตรวจฟัน การแปรงฟัน การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และการจัดอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน
  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน ณ ห้องประชุมรพ.สต.บ้านกลูบี
  5. ติดตามผลภายใน 3 เดือน
  6. สรุปผลการติดตาม

งบประมาณ 1.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 ผืนๆ ละ 900 บาท จำนวน 900 บาท 2.ค่าวิทยากร จำนวน 1 วันวันละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 3,600 บาท 3.อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม มื้อละ 25 บาท x จำนวนวันละ2 มื้อ x จำนวน 60 คน จำนวน 3,000 บาท 4.อาหารกลางวันผู้เข้าอบรม
มื้อละ 50 บาท x จำนวน 1 วันละ1 มื้อ x จำนวน 60 คน จำนวน 3,000 บาท 5.ค่าป้ายไวนิลจัดนิทรรศการ ขนาด 60 ซม. x 160 ซม. จำนวน 2 ผืนๆละ 1,200 บาท จำนวน 2,400 บาท 6.วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 6.1 แปรงเหงือกซิลิโคล 20 ด้ามแปรงฟันบวกยาสีฟัน 40 ชุดx 60 บาท จำนวน 3,600 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 16,500 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2568 ถึง 16 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็ก0-3ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2.ร้อยละของเด็ก0-3ปี ได้รับการการฝึกแปรงเหงือกฟันเด็กที่ไม่มีฟัน 3.ร้อยละของเด็กต่ำกว่า 0-3 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชสำหรับเด็กที่มีฟัน 4.เด็กมีฟันน้ำนมผุลดลง 5.ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันและเหงือกที่ถูกต้อง 6.เด็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก0-3ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
2.ร้อยละของเด็ก0-3ปี ได้รับการการฝึกแปรงเหงือกฟันเด็กที่ไม่มีฟัน
3.ร้อยละของเด็กต่ำกว่า 0-3 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชสำหรับเด็กที่มีฟัน
4.เด็กมีฟันน้ำนมผุลดลง
5.ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันและเหงือกที่ถูกต้อง
6.เด็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช


>