2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย มักพบโรคในวัย 50 ปี ขึ้นไป โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้องอกที่เรียกว่า อะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) จากการศึกษาพบว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจัยดังกล่าว คือ รับประทานอาหารมันและเนื้อแดงมาก แต่รับประทานผักผลไม้น้อย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงออกกำลังกายน้อย และโรคอ้วน การสูบบุหรี่และดื่มสุราจัดอาจมีผลต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยทำงาน จึงมักพบโรคในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง และสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ดังนั้นการให้ความรู้ การลดปัจจัยเสี่ยงสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงการคัดกรองโดยวิธีการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT)ในประชาชน ซึ่งถ้าพบสามารถทำการรักษาให้หาย หรือลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ชมรมอสม.บ้านแฉงแหวง ม.5 ตำบลตุยง ร่วมกับกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวโรงพยาบาลหนองจิก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้ในการป้องกันโรคและคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรก ในประชาชนอายุ 50 – 70 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิด จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ตระหนักถึงภัยของโรคและค้นหากลุ่มเสี่ยงในเบื้องต้นต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรค การลดปัจจัยเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุ อาการและการป้องกันให้แก่ประชาชนในชุมชน
กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยวิธีการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Imunochemical test (FIT) ให้ประชาชนอายุ 50 – 70 ปี ในชุมชน และแจ้งผลการคัดกรองให้ประชาชนทราบ
กิจกรรมที่ 3 ประชุมติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน ประเมินผลโครงการ (คนที่มีผลผิดปกติ ผลเป็น Positive มีการเยี่ยมบ้าน โดยอสม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ เพื่อแนะนำการไปส่องกล้อง Colonoscopy ที่โรงพยาบาลปัตตานีติดตามหลังการส่องกล้องColonoscopy)
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุและอาการของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
2. ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองทำให้ลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายในเขต
ชุมชน