กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

1.นางโนรีฮา เจ๊ะมะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสาวฮานีซะห์ สาวนินักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
3.นางสาวรอฮีมะห์บีรู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางสาวอามีเราะห์สะอิ้งแพทย์แผนไทย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2568 (ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) จังหวัดนราธิวาส มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever: DF, Dengue hemorrhagic fever: DHF, Dengue shock syndrome: DSS) จำนวน 410 ราย อัตราป่วย 50.79 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อำเภอสุไหงปาดี มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 35 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 63.08 ต่อแสนประชากร ตำบลสากอ มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 145.94 ต่อแสนประชากรซึ่งในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 153.57 ต่อแสนประชากร รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 3 ปี ย้อนหลัง ข้อมูลปี 2565มีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 60 ต่อแสนประชากร ข้อมูลปี 2566มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 100.98 ต่อแสนประชากร ข้อมูลปี 2567มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 70.23 ต่อแสนประชากร ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงได้เล็งเห็นปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแนวคิดในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชน และ อสม.
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมโรคไข้เลือดออกนี้ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรคไข้เลือดออก ก่อนฤดูการระบาดของโรค เพื่อให้ชุมชน และ อสม. ในพื้นที่ร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และลดความเสี่ยงจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 50
40.00 40.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 80
50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2025

กำหนดเสร็จ 03/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก เน้นรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ด้วยมาตรการ 3 เก็บ + 5 ป. + 1 ข.
  3. สำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยอสม.

งบประมาณ 1. ค่าไวนิล
   -ขนาด 3 เมตร X 1 เมตร X 1 ชุด                                                                 เป็นเงิน 900 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 60 คน   เป็นเงิน 3,000 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่าวิทยากร 1 คน × 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,600 บาท 5.วัสดุจัดการอบรม - ค่าแผ่นพับ 15 บาท× 60 แผ่น เป็นเงิน 900 บาท - ค่ากระเป๋า จำนวน 60 ใบ × 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าปากกา จำนวน 60 ด้าม × 9 บาทเป็นเงิน 540 บาท รวมค่าวัสดุ เป็นเงิน 3,540 บาท


รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,040 บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสี่สิบบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2568 ถึง 3 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14040.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น


>