2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยพบคนไข้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเฉลี่ยวันละ 15 คน หรือปีละ 5,476 คน และมีผู้ป่วยใหม่ปีละกว่า 15,000 คน พร้อมแนะวิธีดูแลร่างกายให้ห่างไกลจากมะเร็ง เดือน มี.ค.ของทุกปี เป็นเดือนที่ทั่วโลกร่วมรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ จึงออกมาแนะนำเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย
จากข้อมูลประชาชนตำบลหน้าถ้ำในช่วงอายุ 50-69 ปีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีจำนวน 696 คน ปัจจุบันประชาชนที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งลำไส้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหน้าถ้ำได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนให้เข้าถึงบริการโดยทั่วกัน ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 07/07/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ตระหนัก และให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ได้มากขึ้น
2. ประชาชนที่มีอายุ 50 – 69 ปี รับบริการตรวจมะเร็งลำไส้มากกว่าร้อยละ 40
3. สามารถวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มแรกเพื่อจะได้รักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
4. ประชาชนที่มีอายุ 50 – 69 ปี สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ได้ด้วยตนเอง
5. หากมีการตอบรับโครงการที่ดี สามารถนำโครงการนี้มาดำเนินการในปีต่อๆไป เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการครอบคลุมทั้งตำบล