กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน วัคซีนครบ ไม่ซีด ฟันไม่ผุ ) ตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ

-

ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) รวมถึงมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากช่วงวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก ๐–๕ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เด็กวัย ๐–๕ ปี มีสุขภาพ ดีนั้น ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย พัฒนาการด้านสมองตามวัย ไม่มีภาวะซีด การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ให้มีฟันผุ และรับวัคซีนครบตามกำหนด
จากการสำรวจพบว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอม และ เด็กเตี้ยสูงกว่าเกณฑ์ซึ่งมีสาเหตุ มาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตรและด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย เรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่ มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหา ฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟังและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจากผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ ๐-๕ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖7 ของตำบลตะลุโบะ งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน)ต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 49.14 ,งานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 70.63 ,งานส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐-๕ ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.24 และการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็กพบว่ามีเด็กอายุ ๓-๕ ปี มีฟันผุ ร้อยละ 32.35(ข้อมูลจาก HDC) จากรายงานแม้ขนาดของปัญหาลดลง แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับภาคและระดับประเทศ จึงทำให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของเด็กแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อย สุขภาพดี (พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ไม่ซีด ฟันไม่ผุ) ตำบลตะลุโบะ ประจำปี ๒๕๖8 เพื่อให้ความรู้เรื่องดังกล่าว แก่ผู้ปกครอง และส่งเสริมพัฒนาเด็กวัย ๐-๕ ปี ในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังฟัน ไม่มีภาวะซีดและวัคซีนครบ เพื่อสร้างเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพเด็ก ๐-๕ ปี อย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน

ร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเด็กครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน

0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก ๐-๕ ปี มีสุขภาพที่ดีครอบคลุม ทั้ง 5 ด้าน( พัฒนาการสมวัย โภชนาการสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ไม่ซีด ฟันไม่ผุ)

กลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์สุขภาพดีทั้ง 5 ด้าน ร้อยละ 90

0.00 90.00
3 เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้และสามารถประเมินสุขภาพเด็ก ๐-๕ ปี เบื้องต้นอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน

ร้อยละ ๘๐ ของแกนนำสุขภาพมีความรู้ในเรื่องการประเมินสุขภาพเด็ก ๐-๕ ปี ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 57
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1x 3 เมตรเป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท
    เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 87 คนคนละ50 บาทจำนวน1 มื้อเป็นเงิน 4,350-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 87 คน
    คนละ 35 บาท จำนวน2 มื้อเป็นเงิน 6,090.-บาท
  • ค่าวัสดุอุกปกรณ์ในการจัดฐาน 5 ฐาน
    เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าคู่มือการดูแลเด็ก 0-5 ปี จำนวน 30 เล่มๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าวัสดุอุกปกรณ์ในการอบรม เช่น กระเป๋า สมุด ดินสอ ฯลฯเป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าอุปกรณ์ในการสาธิตพร้อมปฏิบัติการแปรงฟันเด็ก ประกอบด้วย
  1. ค่าแปรงสีฟัน จำนวน30 อัน X 25 บาท เป็นเงิน750 บาท

2.ค่ายาสีฟัน จำนวน 1 หลอด x 75 บาท เป็นเงิน 75บาท รวมเป็นเงิน 21,315 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ ๐-๕ ปี มีสุขภาพที่ดีครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21315.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,315.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก ๐ - ๕ ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน
๒. เด็กอายุ ๐-๕ ปี มีสุขภาพที่ดีครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน
๓. แกนนำสุขภาพมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็ก ๐ – ๕ ปี อย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 5 ด้


>