กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชีวิตดี วิถีใหม่ ห่างไกลโรค NCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบูเกะ

1.นางสาวซาลือมา มะยูนุ
2.นางสาวชุติมา ล่านุ้ย

เขตพื้นที่ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD หมายถึงโรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีหลายประเภท เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคไตวาย โรคข้อเสื่อม เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ ประเภทที่ 1 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ มีทางบำบัดรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี เช่น วัณโรค โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง เป็นต้น ประเภทที่ 2 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การรักษาแบบประคับประคองก็สามารถทำให้อาการของโรคทุเลา เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น ประเภทที่ 3 คือโรคที่กลายหรือสืบเนื่องมาจากโรคเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น โรคอัมพฤกษ์ที่เกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อไขสันหลังถูกกดทับแต่ไม่ถึงกับฉีกขาด หากรักษาทันท่วงทีก็หายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ตลอดไป โรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่ออันเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมการดําเนินชีวิตที่ผ่านมาส่งผลให้ประสบปัญหาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ทําให้เกิดอาการเจ็บป่วย ต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลเป็นจํานวนมากจากสถานการณ์ของโรค พบว่าสาเหตุการตายส่วนใหญ่ ร้อยละ 60เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ มะเร็ง ปีละ 97,000 คน ขณะที่คนไทยต้องกินยาสูงปีละ47,000ล้านเม็ด สาเหตุหลักของโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ร้อยละ 90เกิดจากพฤติกรรม อาทิกินอาหารไม่เหมาะสม ขาดการออกกําลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่น หวาน มัน เค็ม (ผลการวิจัยจากกรมอนามัย ปี 2565) ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่เน้นการสร้างเสริม ป้องกันการเกิดโรคลดพฤติกรรมเสี่ยง ในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป โดยการให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการเว้นปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมในโรงพยาบาล และ ในโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ อีกทั้งยังมีกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองในปีที่ผ่าน ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื่องรังเป็นจำนวนหลายคน จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ มีความรู้เรื่องการดูแลตนเองการใช้ยาที่ไม่ถูกถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี ในเรื่องของการควบคุม 3 อ 2ส. ชมรม อสม. ต.มูโนะ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จึงจัดทำโครงการชีวิตดี วิถีใหม่ ห่างไกลโรค NCDs

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อเรื้อรัง

ประชาชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคติดต่อเรื่อรังได้

0.00 80.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง มีความรู้และทัศนคติ ที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม

สามารถพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง มีความรู้และทัศนคติ ที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม

0.00 100.00
3 เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันโรคด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการกลุ่มเปลี่ยนเรียนรู้

สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันโรคด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการกลุ่มเปลี่ยนเรียนรู้

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งคณะทำงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แต่งตั้งคณะทำงาน จำนวน 10 คน
  2. จัดประชุมคณะทำงาน
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. นำเสนอแลกเปลี่ยน วิเคราะห์
  5. จัดทำแผนการดำเนินงานบูรณาการร่วมกัน
  6. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง พร้อมประชุมแลกเปลี่ยนก่อนการดำเนินงาน จำนวน 1 ครั้ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองตัวแทนแกนนำสุขภาพแต่ละหมู่บ้านเพื่อเข้าอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองตัวแทนแกนนำสุขภาพแต่ละหมู่บ้านเพื่อเข้าอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ก่อนเริ่มโครงการและก่อนสิ้นสุดโครงการโดยเป็นการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาและผลลัพธ์การดำเนินงาน เพื่อให้ชุมชนสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานหลังเสร็จโครงการ โดยสำรวจข้อมูลดังต่อไปนี้ 1.จำนวนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนที่ชุมชนต้องการปรับพฤติกรรม เช่นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น 2.ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงรายบุคคลตามหลัก 2 อ (อาหารและออกกำลังกาย) 3.สภาพแวดล้อมเสี่ยงในชุมชน เช่นร้านอาหารที่ขายอาหารหวานมันเค็ม สถานที่ออกกำลังกายฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ตัวแทนแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ตัวแทนแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการและคณะทำงานจำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมโครงการและคณะทำงานจำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายจำนวน 1 คนๆ ละ จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุประกอบการอบรม (กระเป๋าผ้า สมุดบันทึก ปากกา) จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและใบสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร ตร.เมตร ละ 250 บาท เป็นเงิน 720 บาท
  • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เครื่องละ 1,500 บาทจำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าจัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ยี่ห้อ Accu Chek เครื่องละ 1,200 บาท จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,200 บาท
  • เครื่องวัดความเค็ม จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 850 บาท เป็นเงิน 1,700 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • สายวัดรอบเอว จำนวน 10 เส้น เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เป็นการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ตัวแทนแกนนำสุขภาพนำความรู้ที่ได้รับในส่วนนี้ไปคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26070.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลความก้าวหน้าในการเข้าอบรมที่ผ่านมา

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลความก้าวหน้าในการเข้าอบรมที่ผ่านมา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะทำงานร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่และแกนนำสุขภาพ สร้างแรงจูงใจติดตามเสริมพลังพร้อมให้คำแนะนำเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. ทำการเก็บบันทึกข้อมูลสถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพรวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย
  3. คณะทำงานคืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพให้กลุ่มเสี่ยงและครอบครัวรับทราบ และร่วมกันวางแผนและปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะทำงานรวบรวมข้อมูลและร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ตามเป้าหมายของโครงการ
  2. การคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในต่าง ๆ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการดำเนินงาน
  3. การสรุปบทเรียนการดำเนินงานทั้งในส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
  4. การส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับทราบเพื่อขับเคลื่อนงานต่อไป เช่นรพ.สต. อบต. เป็นต้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,570.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2.ประชาชน กลุ่มเสี่ยง มีความรู้และทัศนคติที่ดีมีทางเลือกและแนวทางปฏิบัติในกาดูแลสุขภาพตนเองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม


>