กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร ในเขตพื้นที่ตำบล ตะลุโบะ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตำบลตะลุโบะั

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขาภิบาลอาหาร คือ การจัดและควบคุมการบริการด้านอาหารให้สะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมีที่มีพิษต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยที่อาหารนับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีพ ถ้าอาหารที่จัดไว้บริการไม่สะอาดและปลอดภัย จะส่งผลกระทบเชิงลบรุนแรงต่อสุขภาพ การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหารประเภท ร้านอาหาร แผงลอย จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้มีการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการดังกล่าว ให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน โดยการตรวจแนะนำสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และพัฒนาผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีความสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบ ปรุง ประกอบให้บริการอาหารที่สะอาด ปลอดภัย รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติติย่างถูกต้อง มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีแล้ว ท้ายที่สุดจะส่งผลถึงประชาชนในการได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป
อาศัยความตาม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล และประกอบกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ ได้มีการกำหนดให้ท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข เรื่อง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร และการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” ตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2๕61 นั้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดอบรมผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร และปรับปรุงที่จำหน่ายอาหาร อันส่งผลดีต่อผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 . เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร

0.00 80.00
2 เพื่อให้ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ 80 ของร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบกิจการอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบกิจการอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ 2 มื้อๆ 35 บาท
                                                               เป็นเงิน  1,400.- บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆ ละ 50 บาท                                                            เป็นเงิน  1,000.- บาท
  • ค่าวิทยากร  6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท           เป็นเงิน  3,600.- บาท
  • ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร                      เป็นเงิน    900.- บาท
  • ค่าจัดทำวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรมผู้ประกอบกิจการอาหาร
    20 คนๆ 25 บาท                                    เป็นเงิน     500.- บาท
  • ค่าจัดทำบัตรประจำตัวผู้ประกอบกิจการอาหาร 20 คนๆ 20 บาท                                                          เป็นเงิน     400.- บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม เช่น กระเป๋า สมุด ปากกา ฯลฯ                                                           เป็นเงิน  1,240.- บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตและฝึกปฏิบัติ       เป็นเงิน  4,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13040.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ 35 บาท
                                                               เป็นเงิน  1,050.- บาท
  • ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท            เป็นเงิน  1,800.- บาท
  • ค่าจัดทำวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร 30 คนๆ 25 บาท                                                     เป็นเงิน     750.- บาท
  • ค่าจัดทำบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร 30 คนๆ 20 บาท                                                        เป็นเงิน     600.- บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม เช่น กระเป๋า สมุด ปากกา ฯลฯ                                                           เป็นเงิน  1,860.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6060.00

กิจกรรมที่ 3 ออกตรวจสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำป้ายรับรองมาตรฐาน SAN ขนาด 30 x 30 เซนติเมตร จำนวน 20 ป้าย x 108 บาท                                เป็นเงิน  2,160.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
2. สถานประกอบกิจการด้านอาหาร ได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร


>