กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารูลอามาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารูลอามาน

-

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารูลอามาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ เพราะร่างกายเรานำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆโดยเฉพาะในเด็กในช่วงอายุ ๒- ๕ ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่ต้องได้รับการพัฒนาครบในทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ไปพร้อมๆกัน ในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อของเด็กจึงมีความสำคัญในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย ป้องกันโรคดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี เพื่อให้มีสภาวะร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง โภชนาการอาหารจึงมีความสำคัญโดยตรงต่อสุขภาพเด็กที่มีการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆซึ่งปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการชาดธารติเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย ด้วยการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กและผู้ดูแลเด็ก เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการที่ดี สูงดีสมส่วนและมีทักษะที่จำเป็น อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาแนวโน้มการตรวจพบเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมให้น้อยลง จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารูลอามาน ปี ๒๕๖๘ พบว่า ในเด็กจำนวนที่สำรวจ 4๐คนพบภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 19 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการค่อนข้างผอม และผอม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารูลอามาน ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม และตระหนักในความสำคัญการดูแลเลี้ยงดูเด็กรวมทั้งมีทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาเลือกสรรอาหารตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม และสามารถดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งลดโอกาสการคัดกรองพบภาวะทุพโภชนาการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมวัย และมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
  1. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการประเมินพัฒนาการรายบุคคลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และมีการบันทึกผลไว้อย่างเป็นระบบ
70.00 80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามวัย
  1. เด็กปฐมวัยทุกคนในศูนย์  ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีการศึกษา
  2. เด็กที่ได้รับอาหารเช้า มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ (น้ำหนักและส่วนสูงสมวัย)
70.00 80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้านอย่างเหมาะสม ตามวัย
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีพัฒนาการตามเกณฑ์มาตรฐานครบทั้ง 4 ด้าน
70.00 80.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับประทานอาหารเช้าทุกวันก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในศูนย์
  2. อาหารเช้าที่จัดให้เด็กในศูนย์ มีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่  ตลอดโครงการ
  3. เมนูอาหารเช้าที่จัดในศูนย์ฯ มีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่ ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 19
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/07/2025

กำหนดเสร็จ 31/10/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม “เช้าอิ่ม สุขภาพดี วิถีหนูน้อย”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม “เช้าอิ่ม สุขภาพดี วิถีหนูน้อย”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนดำเนินการ    1.จัดอาหารเช้าให้เด็กปฐมวัยที่มีโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 76 วัน 19 คน    2. ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการและเสร็จสิ้นโครงการ    จัดเตรียมอาหารเช้าสำหรับเด็กปฐมวัย    -ค่าอาหารเช้าของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 19 คน จำนวน 76 มื้อๆละ 20 บาท   เป็นเงิน  28,880 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 ตุลาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมวัย มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม เด็กปฐมวัยมีน้ำหนัก มีส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามวัย เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้านอย่างเหมาะสม และตามวัย อีกทั้งการรับประทานอาหารเช้าให้ประโยชน์และมีคุณค่าทางหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>