กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0–72 เดือน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ช่วงอายุ 0–72 เดือน หรือวัยปฐมวัย เป็นช่วงเวลาทองของการพัฒนาร่างกาย สมอง และจิตใจของเด็กอย่างเต็มที่ การได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมตามช่วงวัย จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมวัย มีพัฒนาการครบถ้วน และมีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้าม หากเด็กไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จะส่งผลให้เกิดปัญหาทางโภชนาการทั้งในด้านการขาดสารอาหาร (เช่น น้ำหนักน้อย เตี้ยแคระ) และภาวะโภชนาการเกิน (เช่น โรคอ้วนในเด็ก) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการในระยะยาว รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เด็กปฐมวัยจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยยังประสบปัญหาโภชนาการผิดปกติ โดยเฉพาะในชุมชนที่มีข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ และความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง นอกจากนี้ การให้อาหารตามใจเด็ก การใช้อาหารเป็นเครื่องมือในการปลอบโยน รวมถึงการขาดกิจกรรมทางกาย ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม จากปัญหาดังกล่าว หน่วยงานด้านสาธารณสุข ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ตลอดจนโรงเรียนอนุบาล จึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดี ด้วยการให้ความรู้ คัดกรองภาวะโภชนาการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก และให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและลดปัญหาภาวะโภชนาการที่อาจเกิดขึ้น โครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมตั้งแต่วัยแรกเริ่ม เสริมสร้างสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจของเด็ก รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ในการเลือกอาหาร ปรุงอาหาร และเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธีตามหลักโภชนาการ
จาการประเมินผลเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก 5 หมู่บ้าน พบว่าเด็กอายุ 0-72 เดือน จำนวน 1,084 ราย ได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการ 1,013 ราย พบเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 30 ราย น้ำหนักค่อนข้างน้อย 47 ราย น้ำหนักตามเกณฑ์ 913 ราย น้ำหนักค่อนข้างมาก 6 ราย และน้ำหนักมาก 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.96, 4.64, 90.22, 0.59 และ 1.68 ตามลำดับ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการและการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ0–72 เดือน ประจำปี 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-72 เดือน มีภาวะโภชนาการสมวัย
  1. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงดูเด็กตามหลักโภชนาการที่เหมาะสม
  1. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 72 เดือน จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 - 72 เดือน จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ×35 บาท x2 มื้อ x2 รุ่น          เป็นเงิน    7,000  บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ×75 บาท x1 มื้อ x2 รุ่น    เป็นเงิน    7,500  บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร  500 บาท × 3 ชม. x 2 วัน          เป็นเงิน    3,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ และยังไม่เข้าสู่วัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ และยังไม่เข้าสู่วัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารเสริม (นมยูเอชที ) สำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 30 คน     จำนวน 30 คน x90 กล่อง (ขนาด 180 มล.) x13 บาท      เป็นเงิน  35,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เด็ก 0 - 72 เดือน มีภาวะโภชนาการตามวัย
2 ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้อง


>