2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การเยี่ยมบ้านกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน เป็นการบริการด้านสุขภาพในเชิงรุกอีกวิธีหนึ่ง เป็นกลวิธีที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในยุคปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยติดเตียงเป็นจำนวนมาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 24 ราย ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 30 ราย รวมทั้งหมด 54 ราย ซึ่งเป็นปัญหาในการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การเยี่ยมบ้านเป็นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับวิถีของชุมชน การเยี่ยมบ้าน รวมถึงการฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชน และยังงสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคล การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดโรคขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ตัวผู้ป่วยและญาติได้อีกด้วย ผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับบางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัยกับตัวผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีสมเกียรติมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์
ดังนั้น หากประชาชนในพื้นที่ Care Giver จิตอาสา ผู้นำชุมชน และอสม. มีความรู้ ทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูความรู้อย่างถูกต้องต่อเนื่อง จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปดูแลญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เล็งเห็นถึงความสำคัญเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตดี สังคมเด่น พลังใจเข้มแข็ง ในปี 2568 นี้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง ติดบ้าน (Home Ward/Home Care) และยังเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับเหล่าบรรดาจิตอาสาในพื้นที่อีกด้วย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้าน
2. ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้านได้รับการตรวจสุขภาพและได้รับการเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอจากเครือข่ายในชุมชน มีกำลังใจเพิ่มขึ้น
3. มีระบบเยี่ยมบ้านที่จัดร่วมกันระหว่าง รพ.สต.สะเตงนอก ชุมชน และประชาชน ทำให้เกิดเครือข่ายบริการและเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยในชุมชน