กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการพัฒนาร้านค้าของชำแผงลอยจำหน่ายอาหารและตลาดสดในชุมชน "อาหารและความปลอดภัยในการบริโภค"

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการพัฒนาร้านค้าของชำแผงลอยจำหน่ายอาหารและตลาดสดในชุมชน "อาหารและความปลอดภัยในการบริโภค"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพการมีสุขภาพดีของผู้บริโภคถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตและพัฒนาประเทศ รัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอาหารไทยตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลสำหรับสถานที่ต่าง ๆ เช่น ตลาด แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านค้าของชำ เพื่อให้สถานที่ต่าง ๆ ได้มาตรฐานตามที่กำหนดอันจะทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพ่ิมขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยในอาหาร รัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากลเนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายอาหารในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่วางขายในท้องตลาด การตรวจสอบมาตรฐานแผงลอยจำหน่ายอาหารเป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้นได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกองสาธารณสุขและส่ิงแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งหว้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านอาหารร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับกลยูุทธ์ด้านอาหารปลอดภัยของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และรักษาคุณภาพด้านอาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมความรู้และพัฒนาเรื่องอาหารและความปลอดภัยในการบริโภคแก่ผู้ประกอบการ

1.ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องอาหารและความปลอดภัยในการบริโภคของผู้บริโภค ร้อยละ 70

0.00
2 2.เพื่อพัฒนาร้านค้าของชำ และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ถูกตามมาตรฐานสุขาภิบาล

2.ร้านค้าของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 55
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 31/03/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมการพัฒนาร้านค้าของชำ แผงลอยจำหน่ายอาหารและตลาดสดในชุมชน “อาหารและความปลอดภัยในการบริโภค”

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมการพัฒนาร้านค้าของชำ แผงลอยจำหน่ายอาหารและตลาดสดในชุมชน “อาหารและความปลอดภัยในการบริโภค”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ 1.1 กิจกรรมหลัก
ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ดังนี้ 1. เรื่องอาหารและความปลอดภัยในการบริโภค
- การเกิดสารที่เป็นอันตรายจากการผลิตหรือปรุงอาหาร - การใช้วัสดุเจือปนปริมาณมากเกินไป 2. เกณฑ์ มาตรฐานร้านขายของชำและร้านค้าแผงลอยจำหน่ายอาหาร - ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข 1.ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท x 1 คน = 1,800 บาท 2.ค่าจ้างเหมาทำอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท x 55 คน = 2,750 บาท 3.ค่าจ้างเหมาทำอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท x 55 คน = 2,750 บาท 4.ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิลโครงการ
ขนาด 1.20 x 2.40 = 432 บาท
5.ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารประกอบการบรรยายพร้อมเข้าเล่ม ชุดละ 20 บาท x 55 ชุด = 1,100 บาท 6.ค่าวัสดุ ประกอบการอบรม ประกอบด้วย - แฟ้มเอกสาร , ปากกา , สมุดจำนวน55 ชุดๆละ 35 บาท =1,925บาท รวมทั้งสิ้น 10,757 บาท 1.2 กิจกรรมย่อย ตรวจร้านค้าของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหาร - โดยใช้แบบฟอร์ม ของกระทรวงสาธารณสุข 1.ค่าสมนาคุณผู้ตรวจร้านค้า คนละ 200 บาท x 5 คน = 1,000 บาท 2.ค่าอุปกรณ์สาธิตชุดทดสอบ SI-2
ชุดละ 750 บาท x 6 ชุด = 4,500 บาท
3.ค่าอุปกรณ์สาธิตชุดตรวจฟอร์มาลีน
ชุดละ 20 บาท x 17 ชุด =340 บาท รวมทั้งสิ้น 5,840 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น16,597.- บาท * หมายเหตุ : ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบการร้านค้าของชำ และแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความรู้ เรื่องอาหารและความปลอดภัยในการบริโภค
  2. ร้านค้าของชำ และแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีการพัฒนาฐานสุขาภิบาล
  3. ผู้บริโภคในพื้นที่ได้รับความปลอดภัยและความมั่นใจในการบริโภคอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16597.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,597.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านค้าของชำ และแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความรู้เรื่องอาหารและความปลอดภัยในการบริโภค
2. ร้านค้าของชำ และแผงลอยจำหน่ายอาหารมีการพัฒนาฐานสุขาภิบาล
3. ผู้บริโภคในพื้นที่ได้รับความปลอดภัยและความมั่นใจในการบริโภคอาหาร


>