กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกายสบายชีวี ตำบลดินจี่ ประจำปี 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่

-

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

20.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

15.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

10.00

ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากสภาพสังคมเกษตรกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ สภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย ร่างกายจึงเสื่อมลงตามกาลเวลา ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ หลายหน่วยงานจึงได้หันมาให้ ความสนใจโดยให้มีการรณรงค์การออกกำลังกายขึ้น ภายใต้โครงการขยับกายสบายชีวี
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งเห็นว่า การออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค เป็น วิธีที่เหมาะสม โดยการกระตุ้น ให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกาย แข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์เสริมสร้างความสามัคคีความเข้มแข็งในชุมชนและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยง ต่อการ เกิดโรคดังกล่าวด้วยความตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ “ขยับกายสบายชีวี ด้วยวิธีเต้นแอโรบิค” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

20.00 40.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

15.00 40.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

10.00 40.00

1. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงานและประชาชนทั่วไปร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย
2. เพื่อลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ
3. เพื่อให้ประชาชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีแก่หมู่คณะ
5. เพื่อเป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพ แก่ชุมชนต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการและกำหนดหน้าที่ของผู้ดำเนินโครงการทุกฝ่ายที่รับผิดชอบโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์ในชุมชนทางหอกระจายข่าวถึงการดำเนินโครงการ 3. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมสถานที่ - ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน - อสม. ประจำหมู่บ้าน 4. เตรียมวิทยากรในการอบรม ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมแกนนำออกกำลังกาย 1.1 รับสมัครแกนนำออกกำลังกายของแต่ละหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านละ 5คน 1.2 วิทยากรอบรมทักษะเกี่ยวกับการออกกำลังกาย (แอโรบิค, SKT, บาสโลบ, รำไทยประยุกต์, รำคองก้า) แก่แกนนำที่เป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 55 คน
2. จัดให้มีการออกกำลังกายต่อเนื่อง 2.1 จัดให้มีการออกกำลังกายทุกวันจันทร์พุธศุกร์เวลา17.00น. - 18.00 น. โดยมีผู้นำออกกำลังกายในแต่ละวันจำนวน 3 คน จากแกนนำที่ผ่านการอบรมจากวิทยากร
2.2 ในแต่ละวันประชาชนที่ร่วมออกกำลังกายลงทะเบียนการเข้าร่วมออกกำลังกายของแต่ละหมู่บ้าน ขั้นประเมินผล 1. นับจำนวนสถิติการมาเข้าร่วมออกกำลังกายของประชาชนในแต่ละวันของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ 2. ประเมินดัชนีมวลกายและรอบเอวจากแบบบันทึกรายงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เกิดกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับ 3 ช่วงวัย กลุ่มเป้าหมาย -เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกันทุกภาคส่วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความสนใจและประโยชน์ในการออกกำลังกาย
4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสามัคคี
5. เป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชน ในพื้นที่ตำบลดินจี่


>