กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ส่งเสริมการดูแลสุขภาพแม่และเด็กในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2561

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ส่งเสริมการดูแลสุขภาพแม่และเด็กในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านดินจี่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างคนไทยรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21 ให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ 1,000 วันแรกของชีวิตนับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงวัยทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง ซึ่ง 1,000 วันแรกของชีวิตนั่นก็คือ ช่วงหญิงตั้งครรภ์ (270 วัน) เด็กอายุ 0-6 เดือน (180 วัน) และเด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี (550 วัน) ซึ่งเป็นช่วงสำคัญยิ่งที่จะดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และเด็ก 0-2 ปี ให้ได้มาตรฐาน เพราะการฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพจึงควรฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นการค้นหาภาวะเสี่ยงของมารดาที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การฝากครรภ์อย่างต่อเนื่องจึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดแก่ทารกในครรภ์และหญิงตั้งครรภ์ได้
นอกจากนี้ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ยังเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สร้างสมองเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้านโครงข่าย ซึ่งการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การเจริญเติบโตของทางร่างกายก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วันอยู่ในท้องมารดา มารดาควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพ
ปัจจุบันพัฒนาการของเด็กไทยโดยเฉพาะความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) มีแนวโน้มลดลง ปัจจัยที่ส่งผลต่อสติปัญญาเด็กได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ เช่น การขาดธาตุไอโอดีน โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ การขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม และการอบรมเลี้ยงดู จากการวิเคราะห์สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กของสำนักส่งเสริมสุขภาพ พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ในมารดาอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี และเกิดปัญหาในหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดสารไอโอดีน ด้านทารก พบว่า อัตราทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน นอกจากนี้ในแต่ละปียังพบคู่สมรสที่เสี่ยงต่อการได้บุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลบุตรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน การพัฒนาสุขภาพเด็กปฐมวัย ยังต้องเร่งรัดกลยุทธ์ กลวิธี อีกหลายประการ รวมทั้งการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี ซึ่งส่งผลให้พัฒนาการเด็กสมวัย ฉลาดมากขึ้น และด้วยความรักจากแม่จะช่วยให้สานใยประสาทเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น เด็กจะฉลาด เรียนรู้ได้เร็ว มีชีวิตชีวา รู้เหตุผล และเติบโตอย่างมีคุณภาพ
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กให้มีคุณภาพ จะต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโต และพัฒนาการสมวัย ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่ จึงจัดทำโครงการ “มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ส่งเสริมการดูแลสุขภาพแม่และเด็กในชุมชนปีงบประมาณ 2561”เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยในกลุ่มแม่และเด็กของพื้นที่ตำบลดินจี่โดยการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักดี พัฒนาการสมวัย และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2. เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งดูแลลูกอย่างมีคุณภาพตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่นให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
3. เพื่อสร้างเครือข่ายดำเนินงานดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในชุมชน
4. เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้สามารถดำเนินงานแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 55
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ส่งเสริมการดูแลสุขภาพแม่และเด็กในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ส่งเสริมการดูแลสุขภาพแม่และเด็กในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.  เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับงานอนามัยแม่และเด็ก ๒.  จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ ๓.  ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนิงานโครงการแก่คณะกรรมการดำเนินงาน ๔.  จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก เพื่อติดตาม ค้นหา ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการปฏิบัติตัวก่อนการตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงหลังคลอดและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
๕.  จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว
๖.  พัฒนาระบบการบริการอนามัยแม่และเด็กที่มีมาตรฐานต่อเนื่อง
-  จัดบริการคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ สายด่วนให้คำปรึกษา -  จัดบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีคุณภาพ (WCC)
-  จัดบริการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยบริการทับหม้อเกลือ -  จัดตั้งกองทุนเกลือไอโอดีนในตำบล ๗.  ส่งเสริมให้กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ สนับสนุนนมกล่องแก่หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ตามชุดสิทธิประโยชน์ ๘.  ค้นหานวัตกรรม/ภูมิปัญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ๙.  สนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ผ่านทางหอกระจายข่าวทุกเช้าในทุกหมู่บ้าน ๑๐. ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดพร้อมครอบครัวโดยทีมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ๑๑. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่หญิงตั้งครรภ์
๑๒. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ อย่างน้อยร้อยละ 70
2. เด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ดื่มนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อยร้อยละ 80
3. เด็กแรกเกิด มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
4. เด็กอายุ 0-2 ปี มีพัฒนาการสมวัย อย่างน้อยร้อยละ 80
5. หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนตลอดการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เจริญเติบโตตามวัย


>