กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทับพริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กสุขภาพดี ชีวีสดใส พัฒนาการเหมาะสมตามวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทับพริก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับพริก

พื้นที่ตำบลทับพริก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมและพัฒนาเด็กเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมเหมาะสมตามวัยนั้นขะต้องมีการส่งเสริมให้มารดามีการดูแลสุขภาพบุตรด้วยตนเองโดยเฉพาะในเด็ก ๐-๕ ปีรวมไปถึงการดูแลตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ จะต้องได้รับการดูแลสุขภาพและ การเอาใจใส่เป็นพิเศษจากทั้งบิดามารดา ญาติพี่น้อง รวมทั้ง องค์กรต่างๆในชุมชน โดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลมาจากวุฒิภาวะของสมอง อวัยวะต่างๆของร่างกาย และสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยเฉพาะการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว วัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นวัยที่ต้องพึ่งพา และรับการช่วยเหลือจากผู้เลี้ยงดูในทุกๆด้าน และเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตในทุกๆด้าน ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างสมวัย เนื่องจากครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดู ให้ความรัก ความอบอุ่นและส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กอย่างเหมาะสม เพราะการที่จะส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงเหมาะสมตามวัยต้องอาศัยเวลา ไม่สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กได้ในระยะเวลาสั้นๆ บิดามารดาผู้ปกครองจึงเป็นกลไกสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กที่ผ่านมาพบว่า อัตราการฝากครรภ์ตามกำหนดยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราการเลึ้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ส่งผลให้การตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ที่ผ่านมาพบว่า เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ในด้านต่างๆถึง 35 ราย ซึ่งคณะกรรมการฯได้เล็งเห็นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องมีการบูรณาการส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาเช่นการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
และประยุกต์ใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยตลอดจนควรมีการรณรงค์หลัก 3 อ 2 ส เพื่อให้เกิดปลูกฝังค่านิยมการรักษ์สุขภาพที่ยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

15.00
2 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

10.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจุบัน ทั้งดื่มประจำและครั้งคราว ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่ม เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

10.00
4 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

30.00
5 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

20.00
6 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

20.00
7 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

10.00
8 เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม(คน)

70.00
9 เพื่อประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี

จำนวนเด็กที่มีพัฒนาไม่สมวัยลดลง

8.00

เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการเด็กในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 234
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 468
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/03/2018

กำหนดเสร็จ 12/08/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุม จนท.และแกนนำภาคีเครือข่ายในชุมชน(อสม.,กองทุนสวัสดิการชุมชน,สภาองค์กรชุมชน)เพื่อวางแผนการดำเนินงานตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก -แบ่งพื้นที่ออกตรวจคัดกรองเป็น 5 ทีม -ออกตรวจคัดกรอง ตามแบบคัดกรอง -ค่าอาหารทีมตรวจคัดกรอง จำนวน ๑๐ คนๆละ ๖๐ บาท/วัน รวม๖ วัน เป็นเงิน 3600 -ค่าอาหารว่างทีมตรวจคัดกรอง จำนวน ๑๐ คนๆละ ๒๕ บาท/มื้อ รวม ๑๒มื้อ =3000 -ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง=2500

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวเด็กที่ได้รับการตรวจคัดกรองสามารถกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ด้านสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ด้านสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิเคราะห์ สรุปแบบคัดกรอง -ให้สุขศึกษารายกลุ่มและรายบุคคล ด้วยหลัก 3 อ 2 ส --ค่าวัสดุสำนักงาน=2600

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ด้านสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส และ นำไปปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 3 น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะชุมชน

ชื่อกิจกรรม
น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทีมประเมินพัฒนาการเด็กบูรณาการกับภาคีเครือข่าย(ท้องถิ่น,ท้องที่) รณรงค์การปลูกพืชผักอินทรีย์และสมุนไพรในครัวเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายและประชาชนได้รับสารอาหารที่ปลอดภัย
ค่าอาหารทีมรณรงค์ ติดตาม จำนวน ๑๐ คนๆละ ๖๐ บาท/วัน รวม ๓ วัน= 1800 ค่าอาหารทีมรณรงค์จำนวน ๑๐ คนๆละ ๒๕ บาท/มื้อ รวม ๖มื้อ=1500

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ชุมชนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความรู้ด้านสุขภาพมาใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ยั่งยืน


>