กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ ฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้าน แบ่งปันอาหารปลอดภัย บ้านแคเหนือ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ ฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้าน แบ่งปันอาหารปลอดภัย บ้านแคเหนือ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านแคเหนือ หมู่ที่ 2

1. นายดนเล๊าะ เดเจะหวัง
2. นายไสโฝด หลีขาหรี
3. นายซุลตอล หมัดหมัน
4. นายสะอาดีน เด็นยี
5. นายอะหมัด หลีขาหรี

ชุมชนบ้านแคเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

20.00
2 จำนวนคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

10.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

20.00

การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในมิติของการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการมีพัฒนาการที่ดีตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กนั้น จะสร้างความแข็งแรงของหัวใจ กล้ามเนื้อและกระดูก พัฒนาการเคลื่อนไหว สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เสริมทักษะการเข้าสังคม พัฒนาสมอง การคิดวิเคราะห์ และพัฒนาภาวะทางอารมณ์ โดยในวัยเด็ก ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย ๖๐นาทีต่อวัน แต่จากการสำรวจ พบว่า ปัจจุบัน กลุ่มเด็กมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
สำหรับอุปสรรคของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยนั้น สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) ที่เพิ่มขึ้น โดยพฤติกรรมเนือยนิ่ง ๔ อันดับแรกของคนไทยที่ทำติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง คือ นั่ง/นอนดูโทรทัศน์ (ร้อยละ ๕๐.๐) นั่งคุย/นั่งประชุม (ร้อยละ๒๘.๔) นั่งทำงาน/นั่งเรียน (ร้อยละ ๒๗.๐) และนั่งเล่นเกม โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ (ร้อยละ ๒๐.๑) เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่นมีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ (Screen Time) อันได้แก่ การนั่งดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เข้าร้านเกมส์ รวมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาประเภทต่างๆ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า ๑ ชั่วโมงต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันแล้วยังจะต้องดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เพื่อผู้คนได้มีกิจกรรมทางกายเป็นวิถีชีวิต ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายจึงนับว่าสำคัญยิ่ง
คณะกรรมการชุมชนบ้านแคเหนือ จึงจัดโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ ฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้าน แบ่งปันอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านและการปลูกผัก เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน และเพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

20.00 80.00
2 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

จำนวนคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

10.00 20.00
3 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2018

กำหนดเสร็จ 30/04/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายให้แก่เด็กและผู้ปกครองของเด็กในชุมชน และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. ค่าอาหารกลางวัน 60 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 3000 บาท
  2. ค่าอาหารว่าง 60 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ขั่วโมงละ 500 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
  2. เด็ก ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุสมัครเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 60 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 การละเล่นพื้นบ้านและการปลูกผักทุกวัน

ชื่อกิจกรรม
การละเล่นพื้นบ้านและการปลูกผักทุกวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและการปลูกผักทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 17.00 ถึง 18.00 น. ของทุกวัน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน คนละ 10 บาทต่อวัน จำนวน 30 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) มีจำนวนเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 ขยายผลการบริโภคผักปลอดภัย ใส่ใจผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ขยายผลการบริโภคผักปลอดภัย ใส่ใจผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมเดินเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน และมอบผักที่ปลูกไว้ให้ผู้สูงอายุและคนในครอบครัวรับประทาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนในชุมชนมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ ชวนกันออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ ชวนกันออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาพื้นที่สาธารณะในชุมชนให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับการออกกำลังกายของคนในชุมชน โดยการละเล่นพื้นบ้านและการปลูกผัก

  • ค่าพันธ์ุผัก เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าอุปกรณ์การเกษตร เช่น จอบ บัวรดน้ำ คราด เป็นเงิน 1500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงสรุปผลการดำเนินการโครงการ

  1. ค่าอาหารกลางวัน 60 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 3000 บาท
  2. ค่าอาหารว่าง 60 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ขั่วโมงละ 500 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินการโครงการเพื่อรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) มีจำนวนเพิ่มขึ้น
2. การกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น
3. พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น


>