กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลต้นธง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ Food @ Fit for healthy

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลต้นธง

คณะกรรมการหมู่ ๖ บ้านใหม่สันมะนะ

ชมรมอสม. ( นายนพพร คำภิชัย,นายถนัด ตุ้ยสารศรี,นายปรีชากันทะธง ,นางสาวราศรี ชุมแสงและ นายนคร พิงค์แก้ว )
คณะกรรมการหมู่บ้าน ( นายสมศักดิ์ ปัญจธง ผู้ใหญ่บ้าน )
กลุ่มแม่บ้าน ( นางจันทร์เพ็ญ จี้ปุ๊ด )
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้นธง

หมู่ ๖ บ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

10.00
3 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

 

30.00
4 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

25.00
5 จำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ (ร้อยละ)

 

50.00
6 จำนวนคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

50.00
7 จำนวนคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด (คน)

 

80.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 40.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

10.00 25.00
3 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรในชุมชน

30.00 50.00
4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

25.00 35.00
5 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

จำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ

50.00 70.00
6 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

จำนวนคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

50.00 70.00
7 ลดพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด

จำนวนคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด (คน)

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 49
กลุ่มวัยทำงาน 430
กลุ่มผู้สูงอายุ 177
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 51
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2017

กำหนดเสร็จ 31/08/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 หมู่บ้านสุขภาพดี มีค่า BMI ปกติ

ชื่อกิจกรรม
หมู่บ้านสุขภาพดี มีค่า BMI ปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมอสม.หมู่ ๖ จำนวน ๒๐ คน ๑ วัน โดยมีเนื้อหาครอบคลุม ทักษะการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เน้นการเพิ่มการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน,การบริโภคอาหาร,เทคนิคการประเมินค่าBMI ผ่านโปรแกรมออนไลด์ , การกระตุ้นและร่วมวางแผนให้ผู้มีค่า BMI เกิน ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต
  2. อสม.ดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แปลผลค่า BMI พร้อมคืนข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. อสม.ดำเนินการแจกเอกสารความรู้ พร้อมทำ MOU ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ผลดัชนีมวลกาย (ฺBMI) ปกติ
  4. อสม.ติดตามคัดกรองค่า BMI หลังการดำเนินกิจกรรม ๓ เดือน / รายงานผลให้รพ.สต.
  5. จัดเวทีถอดบทเรียนบุคคลตนแบบในการดำเนินงานเพื่อให้ค่า BMI ปกติ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน และ กลุ่มผู้สูงอายุ ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และได้รับรู้แปลผลค่า BMI มากกว่า ๘๐ %
  2. ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน และ กลุ่มผู้สูงอายุ มีกิจกรรม ( Food @ Fit ) ที่ส่งเสริมให้ค่า BMI ปกติ มากกว่า ๗๐ %
  3. เกิดบุคคลต้นแบบในการดำเนินงานเพื่อให้ค่า BMI ปกติ อย่างน้อย ๕ คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 กินอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งและหุ่นดี

ชื่อกิจกรรม
กินอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งและหุ่นดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อสม.คัดเลือกแกนนำครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง ประกอบด้วย ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเรื้อรัง หรือมีค่า BMI เกิน มาไม่น้อยกว่า ๖๐ ครอบครัว ( จาก ๒๔๒ ครอบครัว )
  2. จัดอบรมแกนนำครอบครัว โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การกินอาหารที่ปลอดภัย การกินผักและผลไม้ และ การออกแบบการดำเนินชีวิตให้ปลอดภัยจากโรค
  3. แกนนำครอบครัว นำความรู้ที่ได้รับไปขยายให้คนในครัวเรือนและเพื่อนบ้าน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำครอบครัวเข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่า ๖๐ ครอบครัว
  2. เกิดเมนูผักพื้นบ้าน และผลไม้ในฤดูกาลในงานบุญ งานศพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 3 แอโรบิคเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
แอโรบิคเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แกนนำกลุ่มแม่บ้านประชาสัมพันธ์การรณรงค์แอโรบิคเพื่อสุขภาพ
  2. กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ เข้ารับการคัดกรองสุขภาพและค่า BMI
  3. มีการรวมกลุ่มผู้ที่สนใจเต้นแอโรบิค ทุกเย็น ตรงลานเอนกประสงค์กลางหมู่บ้าน โดย เชิญวิทยากร จากข้างนอกมาให้ความรู้ทุกเย็น วันจันทร์ วันพุธ และ วันศุกร์
  4. 4 เดือนหลังการดำเนินการมีการตรวจสุขภาพหลังการดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเต้นแอโรบิคแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๒๐ คน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI ปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย ที่ตรงกับวิถีชีวิต
2.ประชาชนมีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกินปีละ 5 คน


>