กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคล และเจ้าหน้าที่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง(ADL<11 คะแนน)
- การพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ “ผู้สูงอายุคุณภาพ”
- การนำศักยภาพผู้สูงอายุ เช่น การเล่านิทาน การปั้น การทำเครื่องเล่นพื้นบ้าน มาร่วมแก้ปัญหาสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การจัดระบบริการแบบใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนากิจกรรมและใช้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุในมิติความร่วมมือชุมชนและศาสนา
- การปรับประยุกต์ใช้หลักสูตรด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยหรือประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านเพื่อดูแลสุขภาพจิต อารมณ์ผู้สูงอายุ
- การจัดรูปแบบบริการเชิงรุกเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ เช่น คัดกรองตาต้อกระจก การมองเห็น เป็นต้น
- การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เช่น การใช้ภูมิปัญญาชุมชน ประเพณี เป็นต้น แก่กลุ่มและชมรมผู้สูงอายุ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
- การจัดบริการสาธารณสุขดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไม่จำกัดสิทธิของผู้สูงอายุ
- การจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ(Day care)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบและกลไกระบบดูแลผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะแกนนำ อสม.เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์
- แกนนำ อสม.เฝ้าระวังสุขภาพและเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
- การจัดทำระบบข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน
- การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การมีนโยบายของ อปท.เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุ(ใช้งบกองทุนสุขภาพตำบลไม่ได้ แต่สามารถเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูคนพิการ)
- การมีนโยบายสร้างความมั่นคงด้านการออมทรัพย์ผ่านกองทุนผู้สุงอายุ ร่วมกับ อปท.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพศสัมพันธ์
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิต แก่กลุ่มเด็กเยาวชน ผู้ปกครองและกลุ่มที่มีความเสี่ยง
2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างแกนนำ/เครือข่าย
3. สร้างพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมศิลปะ กีฬา เป็นต้น
4. การทำสื่อ ประชาสัมพันธ์
5. คลินิคแก้ปัญหาครอบครัว ช่วยให้แนวทางดำเนินชีวิต, กลไกการให้คำปรึกษา
6. ส่งเสริมการใช้หลักศาสนา ในการดำเนิชีวิต
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
6. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน
7. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
8. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจากโรคหวัด
2. แกนนำอาสาสมัครด้านรู้เท่าทัน อ่านฉลากยาเป็น
3. การใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
4. ร้านชำสีขาว คุ้มครองผู้บริโภค
stars
แนวทางดำเนินงาน : ส่งเสริมให้เยาวชนชายมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
label_important
วิธีการสำคัญ
การจัดบริการขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การตรวจดูสารพิษตกค้างในกระแสเลือด
2. การแนะนำวิธีป้องกันสารเคมีทางการเกษตรและการใช้สารจากธรรมชาติทดแทนสารเคมี
3. การตั้งและดำเนินกิจกรรมกลุ่มเกษตรกรผักปลอดสารพิษ
4. การตรวจเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผัก โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข/ชมรม อย.น้อย
5. ประกาศหมู่บ้านปลอดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
6. การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร
7. การปลูกผักปลอดสารพิษในเขตที่อยู่อาศัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเพิ่มทักษะหรือความสามารถของคนพิการ หรือผู้ดูแลและญาติ
label_important
วิธีการสำคัญ
1.1 การพัฒนาทักษะของการดูแลฟื้นฟูดูแลตนเองของคนพิการ
1.2 การพัฒนาทักษะของญาติ ผู้ดแลเกี่ยวกับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ
1.3 การจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมดูแลคนพิการ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบบริการ กลไกสนับสนุนการดูแลคนพิการ
label_important
วิธีการสำคัญ
2.1 การจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเชิงรุกหรือชุมชน
2.2 การจัดตั้งหลักสูตรเรียนรู้การดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน
2.3 การปรับประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทย การนวด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน
2.4 การจัดตั้งชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อดูแลคนพการ
stars
แนวทางดำเนินงาน : มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของคนพิการ
label_important
วิธีการสำคัญ
3.1 การเชื่อมต่อกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ(อบจ.) หรือ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ปรับปรุงบ้านที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนพิการ
3.2 อปท.นำแนวคิดอารยะสถาปัตย์(universal design) ออกแบบสถานที่ราชการ สวนสาธารณะที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนพิการ
3.3 การจัดต้งศูนย์กายอุปกรณ์และศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงกายอุปกรณ์คนพิการ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีนโยบาย ข้อตกลงชุมชนเกี่ยวกับคนพิการ
label_important
วิธีการสำคัญ
4.1 การจัดตั้งกองทุนดูแลคนพิการในชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
5.1 การจัดทำสำรวจ ปรับปรุงข้อมูลคนพิการในชุมชน
5.2 จัดนำเสนอข้อมูลสถานการณ์คนพิการในเวทีประชาคม หรือ จัดทำแผนสุขภาพชุมชน ผลักดันการมีแผนสุขภาพคนพิการ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
2. การใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ การบริโภคที่ถูกต้อง
2. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย แผล เป็นต้น
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายลดโรคเรื้อรัง เช่น การออกกำลังกาย การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2. กิจกรรมตลาดอาหารปลอดภัย
3. โรงเรียนหรือศูนย์พฒนาเด็กเล็กปลอดหวาน หรือขนบกรุบกรอบ
4. หมู่บ้านปลอดน้ำหวาน น้ำอัดลม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างระบบกลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างแกนนำต้นแบบด้านเสร้างเสริมสุขภาพ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างกติกาหรือนโยบายสาธารณะชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดกติกาชุมชน หรือหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. จำนวนโครงการและงบประมาณที่กองทุนสุขภาพตำบล
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• การเพิ่มที่ผลิตอาหารในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะในชุมชน
• การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในระดับครัวเรือน /ชุมชน หน่วยงานเช่นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
• การปรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหาร
• การใช้บริบท วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร เพื่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
• การทำระบบกระจาย หรือเชื่อมโยงผลผลิต (matching model) โดยการเชื่อมโยงอาหารจากผู้ผลิตไปยังหน่วยงานเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค

วิธีการ

1. การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ หรือการส่งเสริมการทำสวนผักในเมืองในพื้นที่ๆ เป็นชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
2. ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหาร เช่นการปลูกผัก นาข้าว การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ฯลฯ
3. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
4. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
6. การพัฒนาตลาด (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ตลดออนไลน์ ฯลฯ ของชุมชน)
7. การส่งเสริมการบริโภคโดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก/วัยเรียน.วันทำงาน/วัยสูงอายุ)

วิธีการ

1. การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ด้านอาหารในโรงเรียนและชุมชน เช่นการอบรมโปรแกรม Menu Thai School Lunch
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ เช่น การส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม
4. การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
5. การสร้างบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบ (Role model)
6. การส่งเสริมความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) ความรอบรู้เรื่องอาหาร (food literacy)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน
• การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
• การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร
• การใช้กลไกคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย

วิธีการ

1. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน
2. การใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch เพื่อจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
3. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
4. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลอาหารและโภชนาการได้
• ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านระบบอาหารแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3. สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องระบบอาหาร
• เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมเรื่องระบบอาหาร
• เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่นเรื่องระบบอาหาร

วิธีการ

1. การกำหนดนโยบายชุมชนเรื่องการไม่ขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
2. นโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม เหล้า สุรา ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี
3. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
4. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
5. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
6. นโยบายบายการนำอาหารสุขภาพไปถวายพระ (ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ)
7. การส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญป่าชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ