กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหมม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพอนามัยของแม่ทั้งร่างกายและจิตใจมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดมาจนถึงระยะภายหลังคลอดภาวะหรือโรคหลายอย่างที่พบในแม่หรือเกิดในหญิงมีครรภ์จะกระทบกระเทือนและมีอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ด้วยอีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญา มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอายุ 0 – 5 ปีดังนั้นการจัดบริการ “อนามัยแม่และเด็ก” ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพย่อมนำไปสู่การมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย ทั้งของมารดาและบุตร

จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพลำใหม่ปีงบประมาณ 2559พบว่าอัตราการฝากครรภ์ครบ 4 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพได้ร้อยละ 45.71 (เป้าหมาย ร้อยละ 60)และอัตราการได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3ครั้ง ร้อยละ 60(เป้าหมาย ร้อยละ 90)จากข้อมูลดังกล่าวพบว่างานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญส่งผลให้ภาวะสุขภาพของแม่และเด็กไม่ผ่านคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2561 ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กและพัฒนาคุณภาพการบริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ตามนโยบายแผนพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยะลาปีงบประมาณ 2560 ซึ่งมุ่งเน้นที่จะให้แม่เกิดรอด ลูกปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้หญิงมีครรภ์และหญิงเพิ่งสมรสได้รับความรู้ สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง

ร้อยละ 100 หญิงมีครรภ์สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง

100.00
2 2 เพื่อส่งเสริมหญิงมีครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
  1. ร้อยละ 80 หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
80.00
3 3. ส่งเสริม อสม. ให้เป็นแกนนำในการกระตุ้นหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

3.ร้อยละ 100 อสม. เป็นแกนนำในการกระตุ้นหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2018

กำหนดเสร็จ 30/06/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การดูแลครรภ์ในระยะเริ่มต้น- ขั้นตอนการฝากครรภ์ และวิธีการใช้สมุดสีชมพู - การเปลี่ยนแปลงทางสรีระของมารดาและการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์- การออกกำลังกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์
  • เทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ - การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ในระยะหลังคลอด พร้อมกับปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด - การวางแผนครอบครัว การสังเกตภาวะปกติ/ผิดปกติที่พบได้ในทารก
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสำหรับหญิงตั้งครรภ์- การวางแผนครอบครัว การสังเกตภาวะปกติ/ผิดปกติที่พบได้ในทารก
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสำหรับหญิงตั้งครรภ์ -ค่าอาหารกลางวัน 50 บ. x60 คน x 1 มื้อ                          เป็นเงิน  3,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 บ. x60คน x2 มื้อ                     เป็นเงิน  2,400 บาท
  • ค่าวิทยากร  300 บ. x 5 ชม. x  2วัน                      เป็นเงิน  3,000 บาท
  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดอบรม                            เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าเอกสารในการจัดอบรมชุดละ 40 บาท  x  60 ชุด                 เป็นเงิน   2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ร้อยละ 100 หญิงมีครรภ์สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง
2. ร้อยละ 80 หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน 3.ร้อยละ 100 อสม. เป็นแกนนำในการกระตุ้นหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงมีครรภ์สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง
2.หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน


>