กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ห้วยแห้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ปี 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ห้วยแห้ง

รพ.สต.หนองสองห้อง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแห้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

13.20
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศ ทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรปี 2560กระทรวงสาธารณสุข กำหนดยุทธศาสตร์ให้มีการดูแลสุขภาพ 5 กลุ่มวัย โดย กลุ่มผู้สูงอายุ เป็น 1 ใน 5 กลุ่มวัยที่ต้องดูแล และมีเป้าประสงค์ คือ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 80 ปีและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปีดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ที่มีคุณภาพทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสองห้องรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 265 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้าน ร้อยละ 54.72รองลงมาคือ ติดสังคม ร้อยละ39.62 นอกจากนี้ยังพบว่า ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นจากปี 2558 จากร้อยละ 18.11เป็น ร้อยละ 20.00 ส่งผลให้สถานการณ์ผู้สูงอายุในพื้นที่มีแนวโน้มต้องได้รับการพึงพิงสูงขึ้น
โครงการฟื้นฟูส่งเสริมความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุเป็นรูปแบบโปรแกรมการจัดกิจกรรมของบุคลากรสาธารณสุขในการพัฒนาความสุข5 ด้าน เพื่อให้เกิดความสุขทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม อันจะนำไปสู่ผลสำเร็จของการพัฒนาระดับบุคคลให้มีพฤติกรรมดีทางด้านสุขภาพ รู้จักมองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล เข้าใจสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ และสังคมอย่างเป็นจริง รู้จักการจัดการความทุกข์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเรียนรู้ในการจัดการกับปัญหาอย่างเหมาะสมตามวัย ซึ่งในท้ายที่สุดสามารถนำไปสู่คำตอบในเรื่องการจัดระบบบริการทางการแพทย์เชิงรุกในชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างเป็นองค์รวมได้อย่างเป็นรูปธรรม ในปี 2558-2559 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสองห้อง ได้มีการดำเนินการส่งเสริมความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ ซึ่งได้ดำเนินการจนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสองห้อง ตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีจึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยบูรณาการผู้นำชุมชน อสม. ผู้สูงอายุ ตำบลห้วยแห้ง ปี 2561 เพื่อฟื้นฟูความรู้ความสุข 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และสุขสงบ ให้เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายทั้งเก่าและใหม่ เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนให้สามารถบริหารจัดการและจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างยั่งยืน ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้มีความรู้ความเข้าใจต่อกิจกรรมทั้ง 5 มิติ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจต่อกิจกรรมทั้ง 5 มิติ รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
50.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง
  1. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบประเมินกิจกรรมได้ดีขึ้น
50.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกัน
  1. ประเมินผลความพึงพอใจต่อกิจกรรมภาพรวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 
50.00
4 5. เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
  1. มีชมรมผู้สูงอายุ อย่างน้อย 1 ชมรม และมีกิจกรรมต่อเนื่องและยั่งยืน
50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2017

กำหนดเสร็จ 28/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.,ผู้นำชุมชน จิตอาสาและผู้นำกลุ่มผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.,ผู้นำชุมชน จิตอาสาและผู้นำกลุ่มผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.,ผู้นำชุมชน จิตอาสาและผู้นำกลุ่มผู้สูงอายุ/งบประมาณ 0 บาท 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.,ผู้นำชุมชน จิตอาสาและผู้นำกลุ่มผู้สูงอายุ มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมส่งเสริมความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมส่งเสริมความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ
มิติด้านที่ 1 สุขสบาย
กิจกรรม    อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคในผู้สูงอายุ   วิทยากร โดย พยาบาลวิชาชีพ จาก ภายในสำนักงาน มิติด้านที่ 2 สุขสนุก
กิจกรรม    การใช้ดนตรีบำบัด   วิทยากร โดย พยาบาลวิชาชีพ จาก ภายในสำนักงาน มิติด้านที่ 3 สุขสง่า
กิจกรรม  เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง  ในพื้นที่ มิติด้านที่ 4 สุขสว่าง
กิจกรรม    การพัฒนากระบวนการคิดชะลอความเสื่อมทางสมอง     วิทยากร โดย พยาบาลวิชาชีพ จาก ภายในสำนักงาน มิติด้านที่ ๕ สุขสงบ
กิจกรรม 1   อิ่มบุญ ฟังธรรม นั่งสมาธิ  วิทยากร โดย พยาบาลวิชาชีพ จาก ภายในสำนักงาน 3.  ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุที่เข้าอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีกิจกรรมร่วมกันทุกเดือนเช่น ทำบุญ  ออกกำลังกาย  สวดมนต์ไหว้พระและการฝึกสมาธิ    การให้ความรู้   การสันทนาการต่างๆ    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยแกนนำผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยแกนนำผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยแกนนำผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการเยี่ยมและให้กำลังใจโดยแกนนำผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แบบสรุปและประเมินผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจต่อกิจกรรมทั้ง 5 มิติ รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
2. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบประเมินกิจกรรมได้ดีขึ้น
3. ประเมินผลความพึงพอใจต่อกิจกรรมภาพรวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
4. ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
5. มีชมรมผู้สูงอายุ อย่างน้อย 1 ชมรม และมีกิจกรรมต่อเนื่องและยั่งยืน


>