กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม (เข้าสุนัต)ชุมชนสะบารัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

สถานที่จัดกิจกรรม อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านสะบารัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น และสนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และเนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา มีความเป็นบริบทเฉพาะที่ต่างจากพื้นที่ทั่วไป ในด้านสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา ทั้งนี้ในเรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนมุสลิม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัยและเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ อัตราป่วยและอัตราตายที่เป็นปัญหาสำคัญและความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ
การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายในทัศนะของอิสลามนั้นถือเป็นการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยและการทำให้บริสุทธิ์ การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชายทุกคน ภาษาอาหรับ เรียกว่า คีตาน ภาษามาลายู เรียก มาโซ๊ะยาวี ส่วนคนไทยโดยทั่วไป เรียกว่า พิธีเข้าสุนัต หมายถึง การขลิบปลายอวัยวะเพศ ของเด็กไทยมุสลิม ทั้งชายและหญิง เมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง 7 - 12 ปี โดยการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความสะอาด หากหนังหุ้มนั้นยังปกคลุมอยู่ ส่วนวัตถุที่คล้ายเนยแข็งซึ่งขับถ่ายออกมาโดยผิวหนังของบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์จะหมักหมมอยู่ การเข้าสุนัตเป็นการขจัดสิ่งนี้โดยวิธีที่ดีที่สุด อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันน้ำปัสสาวะค้างอยู่ซึ่งเป็นสิ่งสกปรกมีกลิ่นยากแก่การทำความสะอาด ในด้านการแพทย์ให้ความเห็นว่า สุนัตเป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมากมีผู้อาวุโสในชุมชนได้เล่าว่า “สมัยก่อนโต๊ะมูเด็งทำการขลิบโดยไม่ใช้ยาชา ใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ผ้าพันแผล ยางแดง มีด ที่หนีบ (ปงาเป้ะ) หยวกกล้วยและน้ำสะอาด ในช่วงหลังเริ่มมีการใช้ยาชาช่วยลดความเจ็บปวด และใช้แอลกอฮอล์ช่วยทำความสะอาดก่อนขลิบ หลังจากการขลิบเสร็จมีทั้งแผลที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อาวุโสท่านนั้นให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการทำที่ไม่สะอาด” ปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการใช้เครื่องมือที่สะอาดและวิธีการที่ปลอดภัยมากขึ้น การขลิบสมัยใหม่มีทางเลือกมากมายเช่น การจัดเข้าสุนัตหมู่ ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ
จากเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการมัสยิดนูรุลอิสลาม ได้ตระหนักเห็นความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียน และเยาวชน จึงได้จัดโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม (เข้าสุนัต) ขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 195 คน ประกอบด้วย
- เด็กและเยาวชน จำนวน 70คน(อายุระหว่าง 7 - 12 ปี)
- ผู้ปกครองจำนวน 70คน
- คณะกรรมการบริหารฯ สปสช.เทศบาลเมืองปัตตานีและคณะอนุกรรมการ สปสช.เทศบาลเมืองปัตตานี จำนวน 10คน
- ทีมงานวิทยากรจำนวน 2คน - คณะกรรมการมัสยิดมัสยิดนูรุลอิสลาม จำนวน 15คน - คณะกรรมการชุมชนในเขตพื้นที่จะบังติกอ จำนวน 8คน - อาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการฯ จำนวน20คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.บริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในพื้นที่ตำบลสะบารัง เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมา (Bleeding)

ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding)

0.00
2 2.เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โรคเฉพาะโรคติดเชื้อจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจในการดูแลและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมและผู้เข้าร่วมโครงการในเขตพื้นที่ตำบลสะบารัง สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

เด็กและเยาวชนมุสลิม สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/04/2018

กำหนดเสร็จ 28/04/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมถึงผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค จำนวน 1 วัน (ซึ่งบางรายการจะดำเนินการในกิจกรรมที่สองด้วย)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมถึงผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค จำนวน 1 วัน (ซึ่งบางรายการจะดำเนินการในกิจกรรมที่สองด้วย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมถึงผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค จำนวน 1 วัน (ซึ่งบางรายการจะดำเนินการในกิจกรรมที่สองด้วย)     -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ ผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ทีมงานวิทยากร อสม.      คณะอนุกรรมการ สปสช. เทศบาลเมืองปัตตานี คณะกรรมการบริหารฯ  สปสช.เทศบาลเมืองปัตตานี          และเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ ฯลฯ จำนวน 1 มื้อ     จำนวน 195 คน x 70 บาท                        เป็นเงิน  13,650.-บาท     -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ทีมงานวิทยากร          คณะอนุกรรมการ สปสช. เทศบาลเมืองปัตตานี คณะกรรมการบริหารฯ สปสช.เทศบาลเมืองปัตตานี
    และเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ ฯลฯ จำนวน 2 มื้อ
    จำนวน 195 คน x 25 บาท x 2 มื้อ                      เป็นเงิน  9,750.-บาท     -ค่าตอบแทนวิทยากร (2 คนๆละ 600 บาทต่อชั่วโมง) จำนวนคนละ 3 ชั่วโมง  เป็นเงิน  3,600.- บาท     -ค่าจ้างจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ป้ายไวนิล จำนวน 3 ผืน              เป็นเงิน  5,000.- บาท         -ป้ายประกาศรับสมัคร จำนวน 2 ผืน ขนาด 1 x 4 เมตร (ผืนละ 1,000 บาท)         -ป้ายอบรมและวันดำเนินกิจกรรม จำนวน 1 ผืน
         ขนาด 3 x 4 เมตร (ผืนละ 3,000 บาท)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำนวน 70 คน ๆละ 800 บาท

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำนวน 70 คน ๆละ 800 บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่ายาชา                  เป็นเงิน   100.- บาท     2.ค่าถุงมือ                เป็นเงิน    20.- บาท     3.ค่าเข็ฒ ,SYRING              เป็นเงิน    10.- บาท     4.ค่าไหม                    เป็นเงิน   150.- บาท     5.ค่า set sterile                  เป็นเงิน    20.- บาท     6.ค่า betadine 30 cc                เป็นเงิน    20.- บาท     7.ค่า Elasitix                  เป็นเงิน    20.- บาท     8.ค่า Bactigras                    เป็นเงิน    20.- บาท     9.ค่า gauze 2 ซอง              เป็นเงิน    20.- บาท     10.ค่าใบมีด                เป็นเงิน    20.- บาท     11.ค่าหัตถการ                  เป็นเงิน   400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 88,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต(ขลิปหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อ


>