กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการยิ้มสดใสเด็กปฐมวัยฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง

1. นางกุหลาบ สิงห์วงษ์

ตำบลคำด้วงจำนวน 6 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในกลุ่มเด็กเล็กและอนุบาลซึ่งเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่มีแนวโน้มปัญหาด้านสุขภาพช่องปากได้ง่าย แต่ละปีมีเด็กกลุ่ม 0 - 5 ปี ป่วยเป็นโรคฟันผุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากโรคฟันน้ำนมผุ ในเด็กทำให้เด็กปวดฟันต้องสูญเสียฟันก่อนกำหนดผลเสียต่อการบดเคี้ยว เคี้ยวไม่ได้ กินไม่ได้ ทำให้เด็กขาดสารอาหารมีผลต่อสุขภาพอนามัยและพัฒนาการของเด็ก การออกหน่วยส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพให้เด็ก ได้แก่การตรวจฟันเด็ก การให้ทันตสุขศึกษาการเคลือบฟลูออไรด์ การแปรงฟันหลังอาหารกลางวันการจัดรายการอาหารกลางวันการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพให้แก่สุขภาพให้แก่ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองการจัดอุปกรณ์การแปรงฟันเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อออกให้บริการงานส่งเสริมทันตสุขภาพใน ศพด. และโรงเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล
2. เพื่อดำเนินกิจกรรมงานส่งเสริมทันตสุขภาพใน ศพด. และโรงเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล
3. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กสามารถตรวจฟันและดูแสุขภาพช่องปากเด็กได้ถูกต้องเหมาะสม
4. เพื่อให้ครูและผู้ปกครองเด็กรับทราบปัญหาสุขภาพช่องปากเด็กและหาแนวทางป้องกันแก้ไข
ตัวชี้วัด
1. เด็กชั้นอนุบาลได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชร้อยละ90
2. ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ทางทันตสุขศึกษา และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
3. เด็กชั้นอนุบาลได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกเดือน ร้อยละ 80
4. ครูผู้ดูแลเด็กสามารถส่งต่อเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้ร้อยละ80

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 311
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการยิ้มสดใสเด็กปฐมวัยฟันดี

ชื่อกิจกรรม
โครงการยิ้มสดใสเด็กปฐมวัยฟันดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. การจัดเตรียม  วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ในการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ 1. การตรวจฟันเด็ก - ครู , ผู้ปกครองเด็กรับรู้ - ผลตรวจ - ฟันหน้าผุ แนะนำเน้นเรื่องความสะอาด  การแปรงฟัน  การเช็ดเลิกนมขวด - ฟันหลังผุ  ส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อรักษา - ฝึกให้ครูตรวจฟันเด็ก  เดือนละครั้ง  มีแบบบันทึกสุขภาพช่องปากฟัน 2. การให้ทันตสุขศึกษา - ครู, ผู้ปกครอง , เด็ก - โรคในช่องปาก สาเหตุ การรักษา - อาหารที่มีประโยชน์ , โทษต่อสุขภาพช่องปาก - การดูแล และการป้องกัน - ประโยชน์ของฟัน - โทษของนมขวด , ภัยหวาน 3. กิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันให้เด็กทุกคนทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ - ครูจัดอุปกรณ์การแปรงฟันให้เด็กครบทุกคน - พาเด็กแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออกไรด์ (ใส่ยาสีฟันขนาดเท่าเม็ดข้าวโพด) (การแปรงฟันที่ถูกต้อง ครูหรือผู้ปกครองต้องเข้าข้างหลังเด็ก) - ครูตรวจความสะอาดหลังแปรงฟันเด็กอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง 4. การบริการเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในเด็กพร้อมคำแนะนำหลังเคลือบฟลูออไรด์  (อย่าเพิ่งให้เด็กทานอะไรทั้งสิ้นอย่างน้อย  30 นาที) 5. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพกับครู - ตรวจช่องปากเด็กโดยครูเดือนละครั้งเพื่อส่งต่อการรักษา - พาเด็กแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกคนทุกวัน - ตรวจความสะอาดหลังการแปรงฟัน - รายการอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ต่อเด็กอาหารว่างเด็ก ขั้นติดตาม / ประเมิน 1. จำนวนเด็กอนุบาลที่ได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพ 2. แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก ทุกเดือน 3. ครูและผู้ปกครองเด็กสามารถดูแลช่องปากเด็กได้ 4. ครูและผู้ปกครองเด็กทราบปัญหาสุขภาพช่องปากเด็ก และแนวทางการแก้ไข 5. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ 6. คืนข้อมูลผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กใน ศพด. และชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โรงเรียนประถมในชั้นเด็กอนุบาลมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน
  2. โรงเรียนประถมในชั้นเด็กอนุบาลมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน
  3. โรงเรียนประถมในชั้นเด็กอนุบาลได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้องเหมาะสมและมีสภาวะสุขภาพช่องปากดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15380.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,380.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนประถมในชั้นเด็กอนุบาลมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน
2. โรงเรียนประถมในชั้นเด็กอนุบาลมีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน
3. โรงเรียนประถมในชั้นเด็กอนุบาลได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้องเหมาะสมและมีสภาวะสุขภาพช่องปากดีขึ้น


>