กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใยใส่ใจภัยหญิง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถิติทั่วโลกนั้น มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่พบเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม ซึ่งรวมทั้งในประเทศไทยด้วย เป็นมะเร็งของผู้ใหญ่ มักพบในช่วงอายุ 30-70 ปี(พบสูงช่วงอายุ 45-55 ปี) แต่สามารถพบได้บ้างในอายุน้อยกว่านี้ และในผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป สถานการณ์ของโรคในจังหวัดสงขลาปี2553-2556 พบอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 28.51,26.31,40.07,30.61 ตามลำดับและพบว่าปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยเสียชีวิตส่วนใหญ่จะพบแพทย์ระยะหลังๆ ซึ่งมีอาการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วร้อยละ 56 ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงด้านญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็ง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ฉะนั้นการค้นหาพบโรคในระยะแรกจะช่วยให้การวินิจฉัยการรักษาได้ทันท่วงทีทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้มาก
การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกเพื่อตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ ในปี ๒๕๖๐ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด จำนวน ๑,๒๓๙ คน ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน ๔๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕ % ของกลุ่มเป้าหมาย พบอัตราความผิดปกติของเต้านม ๓ ราย ส่งพบแพทย์ที่รพ.สงขลา และพบความผิดปกติของปากมดลูก ๒ รายแพทย์ยืนยันว่าเป็นมะเร็งและกำลังรักษาต่อที่รพ.สงขลา ๑ รายอีก ๑ รายติดตามอาการ จึงได้จัดทำโครงการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกเพื่อตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องทุกปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจค้นหาและรักษาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างทันท่วงที

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 338
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/12/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ดำเนินการในหมู่บ้าน/ตำบลโดยความร่วมมือของอสม. ในการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพื่อค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2.ให้ความรู้โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่ อสม.เพื่อไปให้สุขศึกษาและแนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่บ้าน 3.ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  งบประมาณ 12,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ร้อยละ20 ของประชาชนหญิงได้รับการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก -ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและเกิดความตระหนักให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
๒. ประชาขนเกิดความตระหนักในการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
๓. ประชาชนสามารถตรวจคันหามะเร็งเต้านมได้เองที่บ้าน


>