กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมศักยภาพชมรมผู้สูงอายุพิทักษ์รักษ์คนนาทับ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

ชมรมผู้สูงอายุพิทักษ์รักษ์คนนาทับ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและด้วยวิถีชีวิตของสังคมในปัจจุบันแต่ละครอบครัวส่วนใหญ่มีภาระที่ต้องดูแลผู้สูงอายุแต่ไม่มีเวลาให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจนกลายเป็นภาระของครอบครัวและประชากรผู้สูงวัยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งร่างกายและสุขภาพจิตในผู้สูงอายุพบจากข้อมูลการเจ็บป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนทับพบผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 413รายโรคเบาหวาน259 รายโรคหลอดเลือดในสมอง6 รายและโรคข้อเข่าเสื่อม17 รายดังนั้นการมีชมรมผู้สูงอายุเกิดขึ้นในชุมชนทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ได้พบปะกับสังคมในวัยเดียวกันได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพฉะนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมศักยภาพของชมรมผู้สูงอายุให้ได้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป.

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง
3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพคัดกรองความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 2กิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ 3.กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุและประเมินคัดกรองความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวัน

ชื่อกิจกรรม
1.ดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 2กิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ 3.กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุและประเมินคัดกรองความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมประชุมกรรมการชมรมผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจำนวน  2  ครั้ง   งบประมาณ1,500    บาท 2.กิจกรรมพบปะสมาชิกชมรม  จำนวน 9 ครั้ง งบประมาณ 18,000  บาท 3.กิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ งบประมาณ  14,700  บาท -เรื่องการดูแลสุขภาพโดยใช้หลักศาสนา -เรื่องการดูแลสุขภาพโรคเรื้อรัง -การดูแลสุขภาพความเสื่อมตามวัย -อบรมคุณธรรมและจริยธรรมแก่ผู้สูงอายุ 4.กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุและประเมินคัดกรองความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวัน งบประมาณ  8,720  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องเดือนละ1 ครั้ง 2.สมาชิกชมรมที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจร้อยละ ๗๐ 3.สมาชิกชมรมได้รับการตรวจสุขภาพและคัดกรองความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิต ได้อย่างปกติสุข
2.ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


>