กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมหมู่บ้านนำร่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

บ้านใต้ หมู่ที่6 ตำบลนาทับ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในยุคสมัยที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี่การสื่อสารที่ทันสมัยทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนทั้งการเลือกอาหารมาเพื่อบริโภคและอุปโภคแม้แต่การให้เวลากับการสนใจดูแลสุขภาพก็แทบจะน้อยมากไม่ต้องพูดถึงการให้เวลากับการออกกำลังกายจึงส่งผลให้สุขภาพเสียเกิดป่วยด้วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมากจะเห็นได้จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปีพ.ศ2559 สถิติการป่วยของคนไทยป่วยด้วยโรคติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงร้อยละ 73 ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่าอัตราตายเท่ากับ28.92 ต่อประชากรแสนคน หรือ เท่ากับ 18,922 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน ส่วนหลอดเลือดสมองมีอัตราตายสูงสุด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปี 57 มีจำนวนตาย 25,114 คน หรือเฉลี่ยทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 3 คน นอกจากนั้นยังพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายประมาณ 200,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปีละกว่า 7,800 ราย จากข้อมูลโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับพบว่าประชากรหมู่6 บ้านใต้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน107 คน ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 83 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 35 ราย โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน4รายและโรคไตจำนวน 5ราย ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ในการบริโภคอาหารให้ถูกวิธี และชุมชนยังมีพฤติกรรมและอุปนิสัยในการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับจัดทำโครงการขยายหมู่บ้านนำร่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคโดยเฉพาะลดเสี่ยงโรคเรื้อรังเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของชาวบ้านในชุมชน ให้มีการทานอาหารที่ถูกหลักตามโภชนาการ ด้วยการปรุงอาหารโดยใช้ผักปลอดสารพิษเป็นองค์ประกอบหลัก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดเสี่ยงโรคเรื้อรังหลีกเลี่ยงไขมันซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆชาวบ้านสามารถดูแลตนเองและครอบครัวไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้และสร้างแรงกระตุ้นจิตใต้สำนึกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชนหันมาดูแลสุขภาพให้มีสุขภาพแข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมกรรมการแกนนำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง 2.วางแผนกำหนดกิจกรรมที่ดำเนินการโครงการ 3.จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาทับ 4.ดำเนินกิจกรรมประชุมให้ความรู้ประชาชน 80 หลังคาเรือน 1. 5.จัดประชุมชาวบ้าน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมกรรมการแกนนำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง 2.วางแผนกำหนดกิจกรรมที่ดำเนินการโครงการ 3.จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาทับ 4.ดำเนินกิจกรรมประชุมให้ความรู้ประชาชน 80 หลังคาเรือน 1. 5.จัดประชุมชาวบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมกรรมการแกนนำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
2.จัดประชุมชาวบ้าน  และร่วมกำหนดมาตรการทางสังคม  โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคีเครือข่ายที่ 3.จ้าหน้าที่ร่วมกับแกนนำ  ตรวจสุขภาพคัดกรองโรค  ตามกลุ่มอายุ  เพื่อคัดแยกกลุ่มปกติ  กลุ่ม เสี่ยง  กลุ่มป่วย 4.กิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ -เรื่องการเลือกอาหารที่ถูกต้องมีประโยชน์ลดเสี่ยงเกิดโรคเรื้อรัง -เรื่องการดูแลสุขภาพ 5อ 2 ส -การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 60 2.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการปรับปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีพฤติกรรมปรับเปลี่ยนร้อยละ ๗๐ 3.ชุมชนปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือนอย่างน้อย 5 ชนิด ร้อยละ 70  หลังคาเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชาวบ้านมีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
2.เกิดการจัดตั้งชุมชนต้นแบบสุขภาพดี


>