กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34

พื้นที่หมู่ที่ 2 พื้นที่หมู่ที่3 พื้นที่หมู่ที่5 พื้นที่หมู่ที่8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 80

 

355.00

วัณโรค(Tuberculosis:TB)เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศ ปัจจุบันทั่วโรคมีผู้ติดเชื้อวัณโรคประมาณ 2 พันล้านคนหรือเกือบ 1ใน3 ของประชากรทั่วโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต 1.90 ล้านคนในแต่ละปีประเทศไทยมีปัยจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาศทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างชาติผิดกฏหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ 92300 คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ 44475 คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ 12089 ราย ซึ่งในอำเภอควนกาหลงพบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 16 รายและในตำบลอุใดเจริญพบจำนวน 1 ราย ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีและถูกต้องตามแนวทาง อาจก่อให้เกิดการระบาดของวัณโรคในอนาคตได้ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรค มี 7กลุ่ม ดังนี้ 1.ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค 2.ผู้สูงอายุ 3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดัน/COPD/Stroke/ไต/มะเร็ง) 4.ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDs 5. แรงงานต่างด้าว 6. ผู้ต้องขัง 7. ผู้ติดสุรา/ยาเสพติด
ดังนั่นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาวัณโรค จึงจัดทำโครงการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบยังยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 80

355.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 100

355.00
3 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของโรควัณโรค

ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของวัณโรคร้อยละ 80

355.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 335
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2018

กำหนดเสร็จ 01/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการและรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ

  2. ประสานพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการ

  3. ประสารวิทยากร กำหนดวัน เวลา และสถานที่ดำเนินการ

  4. ให้ความรู้และคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงในการป้องกันและสังเกตอาการของโรควัณโรค ดังนี้

  • กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 2 เป้าหมาย 110 หมู่ที่ 2

  • กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 เป้าหมาย 94 หมู่ที่ 3

  • กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 เป้าหมาย 93 หมู่ที่ 5

  • กิจกรรมคัดกรองและผู้ป่วยโรคเรื้องรังและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 8 เป้าหมาย 58 หมู่ที่ 8

งบประมาณ

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 335 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 17,750 บาท

  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 355 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 8,875 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 4 วัน วันละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป้นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค

  2. ผู้ป่วยสงสัยวัณโรคที่ตรวจพบได้รับการรักษาทุกราย

  3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องและสังเกตอาการของโรควัณโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33825.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,825.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค

2. ผู้ป่วยสงสัยวัณโรคที่ตรวจพบได้รับการรักษาทุกราย

3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องและสังเกตอาการของโรควัณโรค


>