กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลกาบัง ปี 2561

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลกาบัง ปี 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่ยังคงมีความสำคัญในระดับประเทศ ได้แก่ โรคติดต่อ ซึ่งมีทั้งโรคติดต่อนาโดยแมลง โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้า โรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น จากสถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ.2556 - 2560 พบว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบการระบาดของโรคตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจานวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายพาหะนาโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูกาลการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ ส่วนการติดต่อของโรคไข้มาลาเรีย มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนาโรค การระบาดของโรคมาลาเรียเกิดขึ้นได้ในบริเวณแถบชายแดน หรือบริเวณที่เป็นป่าเขา โดยมียุงก้นปล้องที่มีเชื้อมาลาเรียในต่อมน้ำลายกัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดคน ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติที่พบได้มากที่สุด
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของพื้นที่อำเภอกาบังในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2556 - 2560 คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 137.80 ,26.67 ,21.87 ,1,242.69 และ 103.18 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ เป็นประชาชนในพื้นที่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลกาบัง ตำบลกาบัง คิดเป็นอัตราป่วย 127.55 ,25.51 ,24.93 ,219.29 และ 24.33 ต่อแสนประชากรตามลำดับพบว่ามีผู้ป่วยเกิดขึ้นทุกปีและสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียของพื้นที่อำเภอกาบังในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2556 - 2560 คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 9815.0๗ ,2978.30 ,336.86 ,2655.89 และ 580.37 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ เป็นประชาชนในพื้นที่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลกาบัง ตำบลกาบัง คิดเป็นอัตราป่วย 3596.94 ,2602.04 ,274.31 ,1461.99 ,486.61 ต่อแสนประชากร ตามลำดับพบว่าอัตราป่วยลดลงมาทุกปี แต่ยังเป็นพื้นที่เกิดการระบาด (A1A2)
ดังนั้นแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียมีเกิดการระบาดอยู่ทุกๆปี และการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) ในเรื่องของการเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ เป็นกลไกหนึ่งที่ในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพการเจ็บป่วย และเสียชีวิต สามารถรู้เหตุการณ์ของโรคได้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นาชุมชน ดังนั้น กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลกาบัง จึงได้จัดทำเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 4, 5 และหมู่ที่ 7 ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ปี 2561 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกก่อนฤดูกาลระบาด เพื่อลดอัตราป่วย และการค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ต่อไปภอ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อให้นักเรียน และประชาชนทั่วไปในพื้นที่เป้าหมายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก
- นักเรียนและประชาชนทั่วไป ในพื้นที่หมู่ที่ 4,หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 ตำบลกาบัง มีความรู้เรื่อง ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออก
- ค่า HI CI ในชุมชนต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
- ค่า CI ในโรงเรียนเท่ากับ 0
-ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกเกิดใน generation 2
-ผู้ป่วยลดลงจากปีที่ผ่านมา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลกาบัง ปี 2561

ชื่อกิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลกาบัง ปี 2561
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 อบรมประชาชนทั่วไปในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคเลือดออกและไข้มาลาเรีย จำนวน 182 คน
พื้นที่หมู่ที่ 4,5,7 ตำบลกาบัง อบรมเด็กนักเรียนในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคเลือดออกและไข้มาลาเรีย จำนวน 232 คน พื้นที่หมู่ที่ 4,5,7 ตำบลกาบัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน เฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออก
2. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกเกิดใน generation 2
3. ผู้ป่วยลดลงจากปีที่ผ่านมา


>