กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัยเทศบาลเมืองปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

ตำบลจะบังติกอ ตำบล สะบารัง และตำบลอาเนาะรู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ จึงทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น มีฝนตกหนักและหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล ตั้งแต่ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดภาวะอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
เทศบาลเมืองปัตตานีได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่คลอบคลุมทั้ง3ตำบลได้แก่ตำบลจะบังติกอ อาเนาะรู และสะบารัง โดยเฉพาะอาคาร บ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำปัตตานีทั้งสองฝั่ง ได้รับผลกระทบโดยตรง มีน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลังภาวะนํ้าท่วม นอกจากผู้ประสบภัยจะประสบกับการสูญเสียทรัพย์สินแล้ว ยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องสุขภาพอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นโรคน้ำกัดเท้า โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหารโรคตาแดง โรคฉี่หนู ภาวะซึมเศร้า ปัญหาความเครียด และปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มีผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัยเทศบาลเมืองปัตตานี ขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือ และดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 12,021
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1) ประชุมวางแผนทีมทำงาน 2) สำรวจจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะอุทกภัย

ชื่อกิจกรรม
1) ประชุมวางแผนทีมทำงาน 2) สำรวจจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะอุทกภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)  ค่าจัดซื้อยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวน 3,500 ชุดๆ ละ 47 บาท      =    164,500 บาท 2)  ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็น เช่น ถุงพลาสติกยาง กระดาษA 4ฯลฯ          =     3,000    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพที่ตามมาจากภาวะอุทกภัยได้ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดโรคที่มากับน้ำได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
167500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 167,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1)ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพที่ตามมาจากภาวะอุทกภัยได้
2)สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดโรคที่มากับน้ำได้


>