กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.น้ำขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.น้ำขาว

1. นางสุคนธ์ ชูศรี
2. นางจริยา หมวดเพ็ง
3. นางอาภรณ์ ปิยะรัตน์
4. นางดำรัส นิ่มละออง
5. นางล้อม ทองด้วง

หมู่ที่1 ,หมู่ที่3 ,หมู่ที่5 , หมู่ที่6 , หมู่ที่9 , หมู่ที่10 , ศาลาอนกประสงค์ รพ.สต.น้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง (คน)

 

191.00
2 จำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน (คน)

 

23.00
3 จำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูและโรคเบาหวาน (คน)

 

39.00
4 จำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรคไต (คน)

 

6.00
5 จำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม (คน)

 

4.00

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันและที่สำคัญทั้ง 2 โรคยังเป็นโรคตั้งต้นที่ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงและเสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดความพิการ และกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
ซึ่งหลักสำคัญในการดูแลสุขภาพ เพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพที่ดี ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ งดการสูบบุหรี่ งดการดื่มสุรา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และควรเลือกรับประทานให้ครบ 5 หมู่ รับประทานให้หลากหลายและเพียงพอ งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงการดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ ก็จะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทั้งหมดที่กล่าวมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานและโรคมะเร็งปากมดลูกในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
90.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
  1. ร้อยละ 50 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
50.00
3 เพื่อรณรงค์และส่งเสริมโรคมะเร็งปากมดลูก ในประชากรอายุ 30 - 60 ปี
  1. ร้อยละ 40 สตรี อายุ 30-60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
40.00
4 เพื่อรณรงค์และส่งเสริมโรคมะเร็งเต้านม ในประชากรอายุ 30 - 70 ปี
  1. ร้อยละ 80 สตรี อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจเต้านม
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 263
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การรณรงค์ตรวจวัดความดันโลหิตตรวจน้ำตาลในเลือดประชากรและสตรีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป
  2. งบประมาณ
    • ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด กล่องละ 450 บาท x 20 กล่อง = 9,000 บาท

- ค่าแถบเข็มเจาะเลือด กล่องละ 860 บาท x 2 กล่อง = 1,720 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ อื่นๆในการดำเนินกิจกรรม 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11970.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รณรงค์ สตรี อายุ 30-60 ปี ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  2. รณรงค์ สตรี อายุ 30-70 ปี ตรวจเต้านมเต้านมด้วยตนเอง
  3. งบประมาณ -ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน X 25 บาท = 2,500 บาท -ค่าวัสดุและเอกสารสำหรับการดำเนินงาน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ตรวจเลือดประจำปี
  2. ตรวจตาและเท้า
  3. เยี่ยมติดตามผู้ป่วยที่บ้าน งบประมาณ

- ค่าจ้างเหมาทำอาหารกลางเช้าในการตรวจเลือดประจำปี 70 คน x 25 บาท.x 1 ครั้ง = 1,750 บ. - ค่าวัสดุ/เอกสาร ในการดำเนินงาน280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลตนเองอย่างจริงจัง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2030.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะไตเสี่ยมในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะไตเสี่ยมในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเองในกลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม
  2. งบประมาณ -ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน x 100 บาท  เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีการดูแลตนเองอย่างจริงจัง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลตนเองอย่างจริงจัง เพื่อลดภาวะเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนต่อการเกิดโรคเรื้อรัง


>