กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดอ้วนในวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน

1.นางดาราช่วยเรือง ประธาน
2.นางอารีสุขจันทร์ รองประธาน
3.นางยุพิน แสงแก้ว ปฏิคม
4.นางนทีรัย จันทร์เอียดเหรัญญิก
5.นางอารีย์ธรรมโชติเลขานุการ

โรงเรียนบ้านรับแพรก หมู่ที่ 1 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยที่กำลังพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิถีชีวิตมีแต่ความเร่งรีบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ทั้งเรื่องการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันต่างๆการบริโภคที่อาศัยความรวดเร็ว ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในการบริโภค ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ร่วมกับการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งอาหารประเภทนี้ประกอบด้วยแป้ง ไขมันและน้ำตาลสูง และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้เด็กไทยมีการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย เกิดการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน คือ เด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับสัดส่วนเด็กไทยที่มีแนวโน้มสู่ภาวะเป็นเด็กอ้วนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปี 2560 เด็กในวัยเรียนจะมีสัดส่วนของเด็กอ้วนอยู่ที่ 2 ใน 10 โดยเฉพาะเด็กในเมืองจะอ้วนร้อยละ 20-25 ทั้งหมดนี้นับเป็นอุบัติการณ์โรคอ้วน ในเด็กไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถิติ ดังกล่าวชี้ได้ว่าไทยเป็นประเทศที่มีอัตราโรคอ้วนในเด็กเร็วที่สุดในโลก เฉพาะระยะ 5 ปีที่ผ่านมาเด็กวัยเรียน 6-13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้น 15.5%กองสุขศึกษาได้สำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนระดับประถมศึกษา เมื่อปี 2557 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,004 คน กระจายทั่วประเทศ พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 60.4 เนื่องด้วยเด็กยังขาดข้อมูลความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคอ้วน จึงไม่สามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแนวโน้มเด็กไทยจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเผชิญโรคอ้วนตั้งแต่เด็กนั้นจะเกิดผลร้ายต่อเด็กในระยะยาว และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ เด็กอ้วนเสี่ยงต่อการหยุดหายใจเมื่อหลับสนิท มีปัญหาออกซิเจนในเลือดต่ำลงในขณะนอนหลับส่งผลต่อการเจริญเติบโต มีอาการปวดศีรษะ ปัสสาวะรดที่นอน ซน สมาธิสั้น ระดับสติปัญญาต่ำ และอาจเป็นมากจนมีการทำงานของหัวใจและปอดแย่ลง ทำให้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ รวมทั้งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน และเติบโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 80ปัญหานี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก ที่บริโภคอาหารไม่มีประโยชน์ ฉะนั้น เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน ต้องเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เรื่องโรคอ้วน หากประชากรวัยเด็กมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วนในระดับต่ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพในระดับต่ำ และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอ้วนและโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่
ข้อมูลจากคลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด งานโภชนาการวัยเรียน ตำบลท่าบอน โรงเรียนบ้านรับแพรก ช่วงตุลาคม2559-กันยายน 2560พบว่าเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน สูงถึง 15%ชมรมพัฒนาสุขภาพ ตำบลท่าบอน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการลดอ้วนในวัยเรียนขึ้น เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วน และมีภาวะโภชนาการที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วน

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำแบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วนถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80

1.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าดัชนีมวลกายลดลง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 60
2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการบริโภคและออกกำลังกายที่เหมาะสม ร้อยละ 60

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 108
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยมีการอบรมความรู้เรื่องโรคอ้วนในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยมีการอบรมความรู้เรื่องโรคอ้วนในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมความรู้เรื่องโรคอ้วนในเด็กนักเรียน โดยมีการแจกคู่มือให้ความรู้”โรคอ้วนในเด็กนักเรียน”แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และจัดกิจกรรมออกกำลังกายกลุ่มแบบโชว์ป้า ชายป้า
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14040.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการออกกำลังกาย
-บันทึกประเภทกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน -กิจกรรมโชว์ปา โชว์ป้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8748.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,788.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายดีขึ้น


>