กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.น้ำขาว

1. นางสุคนธ์ ชูศรี
2. นางเบญจวรรณ แต่งโสภา
3. นางล้อม ทองด้วง
4. นางอาภรณ์ ปิยะรัตน์
5. น.ส.ลัดดาวัลย์ จันทร์ขุนพัฒน์

หมู่ที่1 ,หมู่ที่3 ,หมู่ที่5 , หมู่ที่6 , หมู่ที่9 , หมู่ที่10 , ศาลาอนกประสงค์ รพ.สต.น้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (คน)

 

29.00
2 จำนวนผู้ที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง (คน)

 

67.00
3 จำนวนผู้ที่ป่วยด้วยโรคตาแดง (คน)

 

9.00
4 จำนวนผู้ที่ป่วยด้วยโรคฉี่หนู (คน)

 

1.00

บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสถานที่ที่ประชาชนอยู่อาศัย และทำกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลในครอบครัว แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลา ทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การปรุง-ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การกำจัดขยะมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงนำโรค หรือละเลยการสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีของตนเองและสมาชิกในครอบครัวซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆเช่น โรคระบบทางเดินหายใจโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำเป็นสื่อไวรัสตับอักเสบไข้เลือดออกเป็นต้นโรคเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการจัดการด้านสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ถูกต้องเหมาะสม
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.น้ำขาวจึงได้จัดทำโครงการ “บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีมีสุข เพื่อส่งเสริมให้ อสม.และสมาชิกในครอบครัว อสม. ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงสุขาภิบาลทั้งภายในบ้านและบริเวณบ้านโดยรอบ ให้ถูกต้อง เหมาะสม ตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีซึ่งนับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในระดับครัวเรือน ให้มีความใส่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำความสะอาดบ้านตามหลักสุขาภิบาล
  1. ร้อยละ 100 ของบ้าน อสม.เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ
100.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือนที่ถูกต้อง
  1. อัตราการเกิดโรคที่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมลดลง
  2. ไม่มีรายงานผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
  3. ไม่มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคฉี่หนู
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
จำนวนหลังคาเรือนอาสาสมัครสาธารณสุข (หลัง) 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ สภาพปัญหา ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ สภาพปัญหา ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงโครงการ  สภาพปัญหา  ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน พร้องให้ อสม.ประเมินตนเอง และวางแผนในการปรับปรุงสุขาภิบาลในครัวเรือน
  2. ให้ความรู้เรื่องการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน , การจัดการขยะ , การปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ถูกต้องและเหมาะสม
  3. งบประมาณ

- ค่าอาหารว่าง  25 บ.x 35 คน x 2 มื้อ =1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดสุขนิสัยที่ดีในเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 2 การตรวจเยี่ยมและประเมินบ้านที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การตรวจเยี่ยมและประเมินบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การตรวจเยี่ยมและประเมินบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
  2. งบประมาณ

- ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจประเมินบ้านจำนวน 5 คน x 6 วัน x 300 บาทเป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดบ้านต้นแบบ บ้านสะอาด สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมดี มีความปลอดภัย ในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 3 การมอบเกียรติบัตรแก่บ้านที่ชนะการประกวด

ชื่อกิจกรรม
การมอบเกียรติบัตรแก่บ้านที่ชนะการประกวด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การมอบเกียรติบัตรแก่บ้านที่ชนะการประกวด
  2. งบประมาณ

- เกียรติบัตร 3 ชุด X 300 = 900 บาท - วัสดุในการดำเนินงาน 4,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สภาพแวดล้อมในบ้านและบริเวณบ้านเอื้อต่อการมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  2. เกิดบ้านต้นแบบ บ้านสะอาด สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมดี มีความปลอดภัย ในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สภาพแวดล้อมในบ้านและบริเวณบ้านเอื้อต่อการมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. เกิดสุขนิสัยที่ดีในเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคล
3. อัตราการเกิดโรคที่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมลดลง
4. เกิดสัมพันธภาพหรือบรรยากาศที่ดีในครัวเรือน ช่วยให้ครอบครัวอบอุ่น มีความรัก เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
5. เกิดบ้านต้นแบบ บ้านสะอาด สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมดี มีความปลอดภัย ในชุมชน


>